Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 เมษายน 2558 มหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv University) อิสราเอล พัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์สเปกทรัลอิมเมจจิ้ง (Hyperspectral Imaging) ใช้แสงสเปกตร้าในการสแกนวัตถุ

ประเด็นหลัก



        ไปไกลอีกขั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv University) อิสราเอล พัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์สเปกทรัลอิมเมจจิ้ง (Hyperspectral Imaging) ใช้แสงสเปกตร้าในการสแกนวัตถุ และสามารถระบุได้ว่า วัตถุชิ้นนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
     
       ในอดีตความสามารถนี้ทำได้แต่ต้องใช้กล้องตัวใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Devid Mendlovic แห่งมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ สามารถพัฒนาอุปกรณ์จนมีขนาดเล็กลง ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นกล้องดิจิตอลในสมาร์ทโฟนทั่วไปได้เลยทีเดียว
     
       สำหรับการทำงานนั้น เมื่อใช้กล้องดังกล่าวถ่ายภาพมาได้ ระบบจะนำภาพมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของ Hyperspectral Signature ที่เปรียบได้กับลายนิ้วมือยืนยันเอกลักษณ์ของวัตถุนั้นๆ ก่อนจะระบุออกมาว่าภาพที่ถ่ายได้นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
     
       “อุปกรณ์ถ่ายภาพจะทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ ซึ่งเรามีฐานข้อมูลที่ช่วยในการแยกแยะส่วนประกอบของวัตถุนั้นๆ จากภาพที่กล้องถ่ายออกมา” ศาสตราจารย์ Devid กล่าว

_____________________________________________________














อิสราเอลเจ๋ง ส่งเทคโนโลยี “Hyperspectral Imaging” ลงสมาร์ทโฟน


        ไปไกลอีกขั้น นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ (Tel Aviv University) อิสราเอล พัฒนาเทคโนโลยีไฮเปอร์สเปกทรัลอิมเมจจิ้ง (Hyperspectral Imaging) ใช้แสงสเปกตร้าในการสแกนวัตถุ และสามารถระบุได้ว่า วัตถุชิ้นนั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
     
       ในอดีตความสามารถนี้ทำได้แต่ต้องใช้กล้องตัวใหญ่ที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์ Devid Mendlovic แห่งมหาวิทยาลัยเทลอาวีฟ สามารถพัฒนาอุปกรณ์จนมีขนาดเล็กลง ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นกล้องดิจิตอลในสมาร์ทโฟนทั่วไปได้เลยทีเดียว
     
       สำหรับการทำงานนั้น เมื่อใช้กล้องดังกล่าวถ่ายภาพมาได้ ระบบจะนำภาพมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลของ Hyperspectral Signature ที่เปรียบได้กับลายนิ้วมือยืนยันเอกลักษณ์ของวัตถุนั้นๆ ก่อนจะระบุออกมาว่าภาพที่ถ่ายได้นั้นประกอบด้วยอะไรบ้าง
     
       “อุปกรณ์ถ่ายภาพจะทำงานร่วมกับซอฟต์แวร์ ซึ่งเรามีฐานข้อมูลที่ช่วยในการแยกแยะส่วนประกอบของวัตถุนั้นๆ จากภาพที่กล้องถ่ายออกมา” ศาสตราจารย์ Devid กล่าว
     
       สำหรับอุปกรณ์ดังกล่าวยังอยู่ในขั้นโปรโตไทป์ โดยเป็นการพัฒนาภายใต้ชื่อ Unispectral และคาดว่าจะสำเร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ ซึ่งการนำไปใช้งานนั้น คาดว่าจะมีหลายอุตสาหกรรมที่ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าว รวมถึงสามารถพัฒนาแอปขึ้นมาใช้งานร่วมกันได้อีกหลากหลาย ยกตัวอย่าง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ กลุ่มไบโอเทคโนโลยี และกลุ่มเทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000038571

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.