Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

31 มีนาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) กำหนดวันแล้ว!! โดยเริ่มที่คลื่น 1800 วันที่ 11 พ.ย.58 (ราคาขั้นต่ำ16,570 ล้านบาทต่อ1ใบอนุญาต) คลื่น 900 วันที่ 15 ธ.ค.58

ประเด็นหลัก
      นายฐากร ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า สำหรับการดำเนินการภายนอกจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค.58 เป็นต้นไป โดยสำหรับคลื่นความถี่ 1800 MHz คาดว่าจะนำร่างประกาศประมูลคลื่นความถี่ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะได้ในช่วงระยะเวลาวันที่ 17 ก.ค.-17 ส.ค.58 และคาดว่าจะสามารถนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ไม่เกินวันที่ 26 ส.ค.58 จากนั้นจะสามารถประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่มารับเอกสารประกอบในการเตรียมการประมูล (รับซองประมูล) ได้ประมาณวันที่ 28 ส.ค.-28 ก.ย.58 และกำหนดให้ผู้สนใจสามารถยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ (ยื่นซองประมูล) ในวันที่ 30 ก.ย.58 จากนั้นคาดว่าจะสามารถพิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายในช่วงระหว่างวันที่ 30 ก.ย.-21 ต.ค.58 และจะสามารถประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติได้ในวันที่ 21 ต.ค.58
     
       หลังจากนั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้เข้าร่วมการประมูล เพื่อซักซ้อมความเข้าใจกฎกติกาการประมูลให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการประมูลในช่วงระยะเวลาวันที่ 22 ต.ค.-10 พ.ย.58 ภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนกระบวนการทั้งหมด สำนักงาน กสทช. คาดว่าจะสามารถจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ได้ในวันที่ 11 พ.ย.58 และจะสามารถรับรองผลและประกาศผลผู้ชนะการประมูลได้ภายในไม่เกินวันที่ 25 พ.ย.58 ทั้งนี้ ผู้ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินประมูล และรับใบอนุญาตภายในเดือน ธ.ค.58
     
       ในส่วนของคลื่นความถี่ 900 MHz คาดว่าจะนำร่างประกาศประมูลคลื่นความถี่ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะได้ในช่วงระยะเวลาวันที่ 5 ส.ค.-9 ก.ย.2558 และคาดว่าจะสามารถนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ไม่เกินวันที่ 23 ก.ย.58 จากนั้นจะสามารถประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่มารับเอกสารประกอบในการเตรียมการประมูล (รับซองประมูล) ได้ประมาณวันที่ 28 ก.ย.-28 ต.ค.58 และกำหนดให้ผู้สนใจสามารถยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ (ยื่นซองประมูล) ในวันที่ 30 ต.ค.58 จากนั้นคาดว่าจะสามารถพิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายในช่วงระหว่างวันที่ 2-20 พ.ย.58 และจะสามารถประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติได้ในวันที่ 20 พ.ย.58 และจะสามารถจัดให้มีการให้ความรู้ในการประมูลสำหรับผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการประมูลในช่วงระยะเวลาวันที่ 23 พ.ย.-4 ธ.ค.58 ซึ่งภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนกระบวนการทั้งหมด สำนักงาน กสทช. คาดว่าจะสามารถจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ได้ในวันที่ 15 ธ.ค.58 และจะสามารถรับรองผลและประกาศผลผู้ชนะการประมูลได้ภายในไม่เกินวันที่ 30 ธ.ค.58 โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินประมูลและรับใบอนุญาตภายในเดือน ม.ค.59



ทั้งนี้ ได้มีแนวคิดที่จะปรับปรุงเงื่อนไขในการประมูลเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และรัฐจะต้องได้ประโยชน์สูงสุด โดยให้แยกการประมูลคลื่นความถี่ครั้งละ 2 ใบอนุญาต และไม่ให้มีการประมูลคลื่นความถี่พร้อมกัน อีกทั้งหากมีผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมการประมูลเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาต จะต้องใช้ราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 100% จากเดิมที่ใช้เพียง 70% ของราคาตั้งต้นการประมูล อาทิ จากราคาตั้งต้นเดิมในปี 2557 ที่ตั้งราคาคลื่น 1800 ไว้ที่ 11,600 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต ซึ่งเป็นราคาที่ 70% เมื่อปรับเป็น 100% ราคาตั้งต้นการประมูลจะอยู่ที่ 16,570 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อลดความเสียหายในการประมูล เนื่องจากเดิมหากผู้เข้าร่วมประมูลมีจำนวนเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาตจะต้องทำการยกเลิกการประมูล และจัดประมูลใหม่ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอความคิดเห็นจากไอทียู
ส่วนงบประมาณในการจัดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยจะใช้เงินจากรายได้ที่คาดว่าจะได้จากการประมูล ซึ่งสำนักงานจะใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบประกวดราคาเพื่อหาผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางมาเป็นผู้บริหารจัดการประมูล คาดว่าใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 3 เดือน


_____________________________________________________













?กสทช. เดินเครื่องเคาะประมูล 4 จีเดือนพ.ย.นี้?
กสทช. ลุยวางกรอบประมูล 4 จี ย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตซ หลังครม. ไฟเขียว ขีดเส้นเคาะประมูล11 พ.ย. นี้ รอไอทียู ศึกษาราคากลางใหม่ เตรียมลบข้อครหา


วันนี้(30 มี.ค.) ที่สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้เห็นชอบให้ทางสำนักงานกสทช.เตรียมดำเนินการเพื่อประมูลคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตจำนวน 2 ใบอนุญาต โดยทาง กสทช. จะนำร่างประกาศประมูลคลื่นความถี่ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะช่วงวันที่ 17 ก.ค.-17 ส.ค. 58 และคาดว่าจะสามารถนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อบังคับใช้ไม่เกินวันที่ 26 ส.ค. 58 ทั้งนี้ กสทช.กำหนดการเคาะประมูลในวันที่ 11 พ.ย. 58 ซึ่งเมื่อรับรองผลการประมูลและใบอนุญาตเรียบร้อยแล้วมั่นใจว่าผู้ประกอบการจะเร่งการเปิดให้บริการ 4 จี ได้ประมาณเดือน มี.ค.-เม.ย.59

โดยขณะนี้ กสทช.กำลังอยู่ในช่วงระหว่างการยกร่างเงื่อนไขเพื่อดำเนินการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางมาเป็นผู้บริหารจัดการประมูลคลื่นความถี่ให้เกิดความโปร่งใสและเป็นธรรมโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือน ก.ค. 58พร้อมส่งหนังสือให้ไอทียู พิจารณาทบทวนราคาเริ่มต้นการประมูลคลื่นใหม่ รวมถึงเพิ่มในเงื่อนไขการประมูลว่าหากมีผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมการประมูลเท่ากับหรือจำนวนน้อยกว่าใบอนุญาตจะต้องกำหนดให้มีการยกเลิกการประมูลในครั้งนั้นและกำหนดแนวทางการประมูลใหม่หรือกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลขึ้นใหม่เพื่อให้เกิดการแข่งขันรัฐได้ประโยชน์สูงสุด

นายฐากร กล่าวว่า ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 2 ใบอนุญาตจะเปิดให้มีการประมูลในช่วงวันที่ 15 ธ.ค. 58 โดยจะไม่นำไปประมูลรวมกับคลื่นความถี่ย่าน 1800 เมกะเฮิร์ตซ เพื่อไม่ให้เกิดข้อครหา ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ย่านอื่นๆ อาทิ คลื่น 2.3 กิกะเฮิร์ตซ คลื่น 2.6 กิกะเฮิร์ตซ ได้แต่งตั้งคณะทำงานศึกษาเพื่อเรียกคืนคลื่นความถี่ที่หน่วยงานภาครัฐนำไปใช้แล้วไม่เกิดประโยชน์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ครม.ได้รับทราบแนวทางการดำเนินการประมูล4 จี ซึ่งจากนี้ กสทช.จะเร่งประมูลตามกรอบระยะเวลาที่วางไว้ โดยเตรียมงบประมาณสำหรับจัดการประมูลไว้ที่ 100 ล้านบาท แบ่งเป็นประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิร์ต 50 ล้านบาท และคลื่น 900 เมกะเฮิร์ตซ 50 ล้านบาท.

http://www.dailynews.co.th/Content/IT/311023/กสทช.+เดินเครื่องเคาะประมูล+4+จีเดือนพ.ย.นี้

______________________



เริ่มกระบวนการประมูลได้ตั้งแต่ช่วง ก.ค.58 เป็นต้นไป ซึ่งกำหนดวันประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 11 พ.ย.58 และประมูลคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ ในวันที่ 15 ธ.ค.58 ทั้งนี้ให้มีการเยียวยาผู้ใช้งานคลื่น 900 เมกะเฮิรตซ์ เพราะคลื่นดังกล่าวจะสิ้นสุดสัญญา 30 ก.ย.58 นี้ และคาดว่าจะได้ใช้งาน 4จี ในไตรมาสแรกของปี 59
สำหรับขั้นตอนการเตรียมการประมูลนั้น กสทช.ได้ส่งหนังสือให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ หรือไอทียู พิจารณาทบทวนราคาเริ่มต้นการประมูลของทั้ง 2 คลื่นอีกครั้ง เนื่องจากราคาเริ่มต้นเดิมเป็นราคาที่ได้จากผลการศึกษาในปี 2557 ประกอบกับปัจจุบัน กสทช.ได้มีมติเพิ่มขนาดคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ ที่จะนำมาประมูลจาก 17.5 เมกะเฮิรตซ์ เป็น 20 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะใช้ระยะเวลาแล้วเสร็จในช่วงเดือน มิ.ย.58
ทั้งนี้ ได้มีแนวคิดที่จะปรับปรุงเงื่อนไขในการประมูลเพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และรัฐจะต้องได้ประโยชน์สูงสุด โดยให้แยกการประมูลคลื่นความถี่ครั้งละ 2 ใบอนุญาต และไม่ให้มีการประมูลคลื่นความถี่พร้อมกัน อีกทั้งหากมีผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมการประมูลเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาต จะต้องใช้ราคาเริ่มต้นการประมูลที่ 100% จากเดิมที่ใช้เพียง 70% ของราคาตั้งต้นการประมูล อาทิ จากราคาตั้งต้นเดิมในปี 2557 ที่ตั้งราคาคลื่น 1800 ไว้ที่ 11,600 ล้านบาทต่อ 1 ใบอนุญาต ซึ่งเป็นราคาที่ 70% เมื่อปรับเป็น 100% ราคาตั้งต้นการประมูลจะอยู่ที่ 16,570 ล้านบาท เป็นต้น เพื่อลดความเสียหายในการประมูล เนื่องจากเดิมหากผู้เข้าร่วมประมูลมีจำนวนเท่ากับหรือน้อยกว่าจำนวนใบอนุญาตจะต้องทำการยกเลิกการประมูล และจัดประมูลใหม่ แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอความคิดเห็นจากไอทียู
ส่วนงบประมาณในการจัดประมูลคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ และ 900 เมกะเฮิรตซ์ คาดว่าจะไม่เกิน 100 ล้านบาท โดยจะใช้เงินจากรายได้ที่คาดว่าจะได้จากการประมูล ซึ่งสำนักงานจะใช้วิธีจัดซื้อจัดจ้างแบบประกวดราคาเพื่อหาผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางมาเป็นผู้บริหารจัดการประมูล คาดว่าใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 3 เดือน
นอกจากนี้ การดำเนินการในส่วนของคลื่นความถี่ย่านอื่นนั้น สำนักงานได้เสนอข้อกำหนดเรื่องเพดานการถือครองคลื่นความถี่ทุกย่านในกิจการโทรคมนาคม (สเปกตรัม แคป) ซึ่งเบื้องต้นในคลื่นความถี่ที่ให้บริการในประเภทบริการเสียง (วอยซ์) และบริการข้อมูล (ดาต้า) จะให้ผู้ประกอบการแต่ละรายถือครองได้ไม่เกิน 45 เมกะเฮิรตซ์ นอกจากนี้ได้มีการดำเนินการศึกษาแนวทางการนำคลื่นความถี่ย่าน 2300 เมกะเฮิรตซ์ และ 2600 เมกะเฮิรตซ์มาใช้สำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว และสำนักงาน กสทช.จะแต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการเพื่อเจรจาขอคืนคลื่นความถี่ย่านทั้ง 2 ย่านดังกล่าว เพราะได้ระบุในสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาในการเรียกคืนคลื่นอื่นๆ ในอนาคตที่สามารถเจรจาได้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป รวมถึงการพิจารณาจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยการเรียกคืนคลื่นความถี่ด้วย.

http://www.thaipost.net/?q=ดีเดย์เคาะวันประมูลคลื่น4จี-คาดช่วงพย-ธคกสทชเร่งไอทียูประเมินราคา

`___________________________________

กสทช.เตรียมงบ 100 ล้านบาท จัดประมูล 4G ภายในปีนี้


กสทช.เผย ครม.เห็นชอบให้ กสทช.เตรียมการประมูล 4G เพื่อเปิดการประมูล 4 ใบอนุญาตในปีนี้ ทั้งคลื่นความถี่ 1800 MHz ในวันที่ 11 พ.ย.58 จำนวน 2 ใบอนุญาต และ 900 MHz อีก 2 ใบอนุญาต ในวันที่ 15 ธ.ค.58 เผยเตรียมงบประมาณสำหรับการประมูลทั้ง 2 คลื่นความถี่ไว้ที่ 100 ล้านบาท ส่วนราคาเริ่มต้นในการประมูลอยู่ระหว่างรอไอทียูเคาะราคาคาดรู้ผล มิ.ย.นี้
     
       นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้ กสทช.เริ่มกระบวนการภายใน และดำเนินการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz ได้แล้ว หลังจากที่คลื่นความถี่ 1800 MHz ถูกคำสั่งจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ชะลอการประมูลออกไป 1 ปี โดย กสทช.จะเริ่มกระบวนการตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค.2558 เป็นต้นไป และจะสามารถเปิดประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ได้ในวันที่ 11 พ.ย.58 ใบอนุญาตละ 12.5 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต และ 900 MHz ในวันที่ 15 ธ.ค.58 ใบอนุญาตละ 10 MHz จำนวน 2 ใบอนุญาต โดย กสทช.ได้เตรียมงบประมาณในการประมูลทั้ง 2 คลื่นความถี่ไว้ที่ 100 ล้านบาท
     
       ทั้งนี้ ก่อนที่จะเริ่มกระบวนการดังกล่าวตั้งแต่ 17 ก.ค.นั้น กสทช.ต้องดำเนินการจัดเตรียมการประมูล ซึ่งเป็นขั้นตอนการเตรียมการภายในของสำนักงาน กสทช. 5 เรื่อง ได้แก่ เรื่องแรก การปรับปรุงแก้ไขแผนแม่บทบริหารคลื่นความถี่ (พ.ศ.2555) โดยให้มีการนำการ์ดแบนด์จำนวน 2.5 MHz ของคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz มารวมกับคลื่นความถี่ที่มีอยู่เดิม จำนวน 17.5 MHz เพื่อให้สามารถนำคลื่นความถี่ 900 MHz ออกมาประมูลได้จำนวนทั้งสิ้น 20 MHz ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 3 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.ค.58
     
       เรื่องที่ 2 สำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือให้สหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) พิจารณาทบทวนราคาเริ่มต้นการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz และ 900 MHz เดิมที่ได้ทำการศึกษาไว้ว่ามีความเหมาะสมสำหรับการประมูลคลื่นความถี่ในปีนี้หรือไม่ เนื่องจากราคาเริ่มต้นเดิมเป็นราคาที่ได้จากผลการศึกษาในปี 2557 ประกอบกับปัจจุบัน กสทช. ได้มีมติเพิ่มขนาดคลื่นความถี่ 900 MHz ที่จะนำมาประมูลจาก 17.5 MHz เป็น 20 MHzซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 2 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน มิ.ย.58
     
       เรื่องที่ 3 การปรับปรุงแก้ไขเงื่อนไขในการประมูลคลื่นความถี่เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม และรัฐจะต้องได้ประโยชน์สูงสุด ไม่เสียประโยชน์ในการประมูลคลื่นความถี่ โดยให้แยกการประมูลคลื่นความถี่ในแต่ละครั้ง ครั้งละ 2 ใบอนุญาต ไม่ให้มีการประมูลคลื่นความถี่พร้อมกัน และให้เพิ่มในเงื่อนไขการประมูลว่า หากมีผู้ผ่านคุณสมบัติเข้าร่วมการประมูลเท่ากับ หรือจำนวนน้อยกว่าใบอนุญาต จะต้องกำหนดให้มีการยกเลิกการประมูลในครั้งนั้น และกำหนดแนวทางการประมูลใหม่ หรือกำหนดราคาเริ่มต้นการประมูลขึ้นใหม่ให้เหมาะสม ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 3 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.ค.58
     
       เรื่องที่ 4 สำนักงาน กสทช. ได้ดำเนินการยกร่างเงื่อนไขการจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโอทีอาร์) เพื่อจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญที่เป็นกลางมาเป็นผู้บริหารจัดการประมูลคลื่นความถี่ให้เกิดความโปร่งใส และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ซึ่งการดำเนินการในส่วนนี้จะเป็นไปตามระเบียบว่าด้วยการพัสดุ โดยกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 3 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.ค.58
     
       และเรื่องสุดท้าย ปรับปรุงมาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการ เนื่องจากสำนักงาน กสทช. ไม่อาจจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ได้ก่อนสิ้นสุดสัญญาคือก่อนวันที่ 30 ก.ย.58 เพราะต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ดังนั้น จึงต้องมีการปรับปรุงประกาศ กสทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. 2556 (มาตรการเยียวยาผู้ใช้บริการ) เช่น การกำหนดให้ผู้ให้สัมปทานและผู้รับสัมปทานจะต้องนำส่งเงินรายได้อันเกิดจากการให้บริการในช่วงเวลาเยียวยาเมื่อหักค่าใช้จ่ายแล้วจะต้องนำส่งเป็นรายได้แผ่นดิน ซึ่งจะต้องไม่น้อยกว่าอัตราค่าส่วนแบ่งรายได้ที่เคยนำส่งอยู่เดิม เป็นต้น โดยจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะด้วย ซึ่งกระบวนการนี้จะใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้นประมาณ 3 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงเดือน ก.ค.58
     
       นายฐากร ให้รายละเอียดเพิ่มเติมว่า สำหรับการดำเนินการภายนอกจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ก.ค.58 เป็นต้นไป โดยสำหรับคลื่นความถี่ 1800 MHz คาดว่าจะนำร่างประกาศประมูลคลื่นความถี่ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะได้ในช่วงระยะเวลาวันที่ 17 ก.ค.-17 ส.ค.58 และคาดว่าจะสามารถนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ ไม่เกินวันที่ 26 ส.ค.58 จากนั้นจะสามารถประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่มารับเอกสารประกอบในการเตรียมการประมูล (รับซองประมูล) ได้ประมาณวันที่ 28 ส.ค.-28 ก.ย.58 และกำหนดให้ผู้สนใจสามารถยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ (ยื่นซองประมูล) ในวันที่ 30 ก.ย.58 จากนั้นคาดว่าจะสามารถพิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายในช่วงระหว่างวันที่ 30 ก.ย.-21 ต.ค.58 และจะสามารถประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติได้ในวันที่ 21 ต.ค.58
     
       หลังจากนั้น ต้องมีการเตรียมความพร้อมสำหรับผู้เข้าร่วมการประมูล เพื่อซักซ้อมความเข้าใจกฎกติกาการประมูลให้ผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการประมูลในช่วงระยะเวลาวันที่ 22 ต.ค.-10 พ.ย.58 ภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนกระบวนการทั้งหมด สำนักงาน กสทช. คาดว่าจะสามารถจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ได้ในวันที่ 11 พ.ย.58 และจะสามารถรับรองผลและประกาศผลผู้ชนะการประมูลได้ภายในไม่เกินวันที่ 25 พ.ย.58 ทั้งนี้ ผู้ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินประมูล และรับใบอนุญาตภายในเดือน ธ.ค.58
     
       ในส่วนของคลื่นความถี่ 900 MHz คาดว่าจะนำร่างประกาศประมูลคลื่นความถี่ไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะได้ในช่วงระยะเวลาวันที่ 5 ส.ค.-9 ก.ย.2558 และคาดว่าจะสามารถนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษาได้ไม่เกินวันที่ 23 ก.ย.58 จากนั้นจะสามารถประกาศเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่มารับเอกสารประกอบในการเตรียมการประมูล (รับซองประมูล) ได้ประมาณวันที่ 28 ก.ย.-28 ต.ค.58 และกำหนดให้ผู้สนใจสามารถยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ (ยื่นซองประมูล) ในวันที่ 30 ต.ค.58 จากนั้นคาดว่าจะสามารถพิจารณาคุณสมบัติผู้มีสิทธิเข้าร่วมการประมูลภายในช่วงระหว่างวันที่ 2-20 พ.ย.58 และจะสามารถประกาศผลผู้ผ่านคุณสมบัติได้ในวันที่ 20 พ.ย.58 และจะสามารถจัดให้มีการให้ความรู้ในการประมูลสำหรับผู้ที่ผ่านคุณสมบัติเป็นผู้เข้าร่วมการประมูลในช่วงระยะเวลาวันที่ 23 พ.ย.-4 ธ.ค.58 ซึ่งภายหลังจากเสร็จสิ้นขั้นตอนกระบวนการทั้งหมด สำนักงาน กสทช. คาดว่าจะสามารถจัดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ได้ในวันที่ 15 ธ.ค.58 และจะสามารถรับรองผลและประกาศผลผู้ชนะการประมูลได้ภายในไม่เกินวันที่ 30 ธ.ค.58 โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องชำระเงินประมูลและรับใบอนุญาตภายในเดือน ม.ค.59
     
       สำหรับการดำเนินการในส่วนของคลื่นความถี่ย่านอื่น ขณะนี้สำนักงาน กสทช. ได้มีการดำเนินการศึกษาแนวทางการนำคลื่นความถี่ย่าน 2300 MHz และ 2600 MHz มาใช้สำหรับการประกอบกิจการโทรคมนาคมแล้ว และสำนักงาน กสทช. จะแต่งตั้งคณะทำงานเตรียมการเพื่อเจรจาขอคืนคลื่นความถี่ทั้ง 2 ย่านดังกล่าว รวมถึงย่านอื่นๆ ที่สามารถเจรจาได้เพื่อให้สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป รวมถึงการพิจารณาจัดตั้งกองทุนเพื่อชดเชยการเรียกคืนคลื่นความถี่ด้วย


http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000036593

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.