Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มีนาคม 2558 ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ระบุ การอนุมัติตั้งบริษัททาวเวอร์โคร่วมทุนและกฎหมายทั้งหมดเสร็จครบวงจรจะมีมาตรการสนับสนุนเองโดยคู่กันไปได้ "ผมก็เป็นประธานกรรมการ พ.ร.บ.ร่วมทุนอยู่แล้ว"

ประเด็นหลัก




จะออกกฎบังคับเอกชนเช่าโครงข่าย

เท่าที่คุยกับบางรายแล้ว เขาพร้อมที่จะเอาทรัพย์สินมาลง ประหยัดกว่า ณ วันนี้ไม่มีกฎหมายบังคับ แต่เมื่อเกิดบริษัทร่วมทุนและกฎหมายทั้งหมดเสร็จครบวงจรจะมีมาตรการสนับสนุนเอง


ต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน

ต้องเข้า แต่เดินคู่กันไปได้ ผมก็เป็นประธานกรรมการ พ.ร.บ.ร่วมทุนอยู่แล้ว

_____________________________________________________













เดินหน้าภารกิจ "บอร์ดดิจิทัล" สั่งเร่งเครื่อง 4G ตั้ง "ทาวเวอร์โค-VC"


สัมภาษณ์ : สำหรับ 4G ขีดเส้นให้ "กสทช." จัดประมูลภายใน ส.ค.นี้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นคลื่น 900 หรือ 1800 MHz เท่านั้น ทำไมและเพราะอะไร "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" รองนายกรัฐมนตรี และในฐานะรองประธานบอร์ดดิจิทัลมีคำตอบ !

การประชุมนัดแรกของคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หรือ "บอร์ดดิจิทัล" ชุดชั่วคราว ไม่เฉพาะเรื่องการประมูล 4G แต่ยังอนุมัติแผนบรอดแบนด์แห่งชาติและการจัดตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ 40 แห่งทั่วประเทศด้วย สำหรับ 4G ขีดเส้นให้ "กสทช." จัดประมูลภายใน ส.ค.นี้ โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นคลื่น 900 หรือ 1800 MHz เท่านั้น

ทำไมและเพราะอะไร "ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล" รองนายกรัฐมนตรี และในฐานะรองประธานบอร์ดดิจิทัลมีคำตอบ


ทำไมไม่ฟันธงว่าให้ประมูลคลื่นย่านไหน

เราแค่แนะนำว่ายังมีคลื่นย่านอื่นที่ดีกว่า กสทช.มีคลื่นในมือเยอะ เลยให้ไปนั่งคิดหาคลื่นที่ดีที่สุดกับผู้ใช้งานมาให้ได้ ทำ 4G ให้มีแบนด์วิดท์กว้างคนใช้ยิ่งชอบ ไม่ขายหน้า ถ้าแบนด์วิดท์เล็ก ความเร็วก็เล็ก ๆ ทำทั้งทีต้องให้สู้เมืองนอกได้ แต่ต้องให้เสร็จใน 5 เดือน

มีเหตุผลอื่นที่ต้องประมูลให้เร็วขึ้น

ไม่มี แค่ประชาชนอยากได้ คนรออยู่ กสทช.ก็บอกว่าน่าจะเตรียมงานเสร็จใน 4-6 เดือน ส.ค.ก็ 5 เดือน ก็พอดี ไม่ต้องแก้ประกาศ คสช.ที่ให้ชะลอการประมูลถึง 17 ก.ค. ตอนนี้ กสทช.ก็เตรียมงานไปก่อนได้


ถ้าสุดท้ายประมูลแค่ 900 กับ 1800

ก็แล้วแต่ กสทช. เราแค่ไม่อยากให้เขายึดติดแบบเดิม คลื่นพาณิชย์มีเป็นร้อยแปดคลื่น


คลื่นอยู่ในมือภาครัฐ

อำนาจอยู่ที่ กสทช. บอร์ดดิจิทัลชั่วคราวไม่มีอำนาจเรื่องคลื่น แต่บอร์ดดิจิทัลชุดใหญ่จะมีอำนาจจัดสรรคลื่นของทั้งประเทศ บอกได้ว่าอันไหนคลื่นเพื่อความมั่นคง เพื่อสาธารณะ คลื่นพาณิชย์ ถ้าอันไหนเป็นคลื่นพาณิชย์ก็โยนให้ กสทช.ไปจัดการต่อ


รูปแบบคือการประมูล

ต้องถาม กสทช. เป็นหน้าที่และมีวิธีการประมูลของเขาอยู่แล้ว กฎหมายเดิมให้ประมูลก็ยังใช้อยู่ แต่ต้องรายงานให้บอร์ดทราบทุกเดือน ว่าจะประมูลคลื่นไหน เตรียมการถึงไหนแล้ว ทัน ส.ค. นี้หรือเปล่า


มีบอร์ดดิจิทัลแล้วยังต้องมี กสทช.

กสทช.จำเป็นต้องมี เพราะเราไม่ได้ไปแตะอำนาจเขา แค่ดูภาพใหญ่


อนุมัติตั้งบริษัททาวเวอร์โค

อยู่ในแผนบรอดแบนด์แห่งชาติเพื่อให้ทุกครัวเรือนมีบรอดแบนด์ใช้ในปี 2560 โดยจะรวมเสาโทรคมนาคมและไฟเบอร์ออปติกที่อยู่ในมือภาครัฐและเอกชน มารวมในบริษัทกลางให้เจ้าของเก่ามาถือหุ้นร่วม

ตั้งคณะทำงานบรอดแบนด์แห่งชาติแล้ว ผมเป็นประธาน เจ้าของโครงข่ายแต่ละรายมาเป็นกรรมการ คาดว่าจะตั้งบริษัทได้ใน 6 เดือน และใน 10 เดือนลงมือเชื่อมต่อโครงข่ายทั้งหมด จากนั้นอีก 1 ปี ทุกหมู่บ้านจะมีบรอดแบนด์ไปถึง


ต้องลงทุนโครงข่ายเพิ่มเท่าไร

หลังจากรวมโครงข่ายเดิม ต้องดูทีละเส้นว่า ถึงจะรู้ว่าพื้นที่ส่วนไหนยังขาดและต้องใช้เงินเติมอีกเท่าใด ที่บอร์ดดิจิทัลให้ผมเป็นประธานชุดนี้เพื่อให้ผมมาหาเงินเติมเข้าไปนั่นแหละ





สัดส่วนร่วมทุน

ยังไม่รู้จนกว่าจะสำรวจทรัพย์สินว่า แต่ละคนมีเท่าไร น่าจะอีก 3 เดือน แต่จะพยายามไม่ให้เป็นรัฐวิสาหกิจเพราะจะอุ้ยอ้ายเกินไป จะหามือโปรมาบริหารจัดการ


ข้อพิพาทเรื่องทรัพย์สินกับเอกชน

ก็น่าจะเจรจากันได้ ถ้าเขาได้เห็นภาพรวมน่าจะยินดี ตอนนี้ยังไม่มีคำตอบว่าใครจะยอม ไม่ยอม ต้องเริ่มเจรจากันก่อน


ทีโอที-กสทช จะทำอะไรต่อ

คลื่นเขาก็จะหมดสัมปทานแล้ว ไม่ได้ไปดึงอะไรออกมา แล้วบรอดแบนด์อันใหม่ใหญ่กว่าเดิม 10-20 เท่า เป็นของประเทศ ศักยภาพของทีโอทีกับกสทฯ ทำไม่ได้ ทีโอที-กสทฯก็จะมาถือหุ้นในบริษัทนี้ด้วย

ส่วน 2 องค์กรนี้จะทำอะไรต่อเป็นหน้าที่ คนร. กำลังดูอยู่ เราแยกงานออกจากกัน


จะออกกฎบังคับเอกชนเช่าโครงข่าย

เท่าที่คุยกับบางรายแล้ว เขาพร้อมที่จะเอาทรัพย์สินมาลง ประหยัดกว่า ณ วันนี้ไม่มีกฎหมายบังคับ แต่เมื่อเกิดบริษัทร่วมทุนและกฎหมายทั้งหมดเสร็จครบวงจรจะมีมาตรการสนับสนุนเอง


ต้องเข้า พ.ร.บ.ร่วมทุน

ต้องเข้า แต่เดินคู่กันไปได้ ผมก็เป็นประธานกรรมการ พ.ร.บ.ร่วมทุนอยู่แล้ว


การสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วประเทศ

40 แห่งทั่วประเทศ เปิดให้เอกชนมาลงทุน แต่รัฐเป็นคนกำหนดมาตรฐานคุณภาพ อีก 1 ปีได้ใช้ รวมถึงตั้งกองทุนร่วมทุน (VC Fund) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการหน้าใหม่ โดยในเดือนหน้าจะมีการสรุปข้อเสนอทั้งหมดให้บอร์ดดิจิทัลพิจารณา




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1427092036

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.