Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มีนาคม 2558 iMI.ไมตรี ระบุ เราอยากทำตลาดในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเจ้าอื่น และด้วยความที่เน้นทำตลาดออนไลน์จึงอยากให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าบนโซเชียลจึงสร้างคลับเมมเบอร์ออนไลน์ของผู้ใช้ไอมี่

ประเด็นหลัก

ด้านนายไมตรี จางเจริญสุข ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอมี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายสมาร์ทโฟนแบรนด์ไอมี่ (iMI) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยังคงเน้นทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด และไม่ได้ตั้งเป้าแข่งกับใคร เน้นขยายตลาดของตนเองเพื่อเป็นทางเลือกของผู้ใช้สมาร์ทโฟนโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น กล้องฟรุ้งฟริ้ง

ขณะที่ภาพรวมตลาดมีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง สำหรับงบประมาณการตลาดปีนี้อยู่ที่ 200 ล้านบาท แบ่งเป็นการตลาดออนไลน์ 50 ล้านบาท ซึ่งช่วงเดือน เม.ย.จะเปิดตัวไลน์สติ๊กเกอร์ชุดที่ 2 อีก 50 ล้านบาท ในการโฆษณาผ่านเคเบิลทีวี และเป็นสปอนเซอร์ในรายการทีวี

และอีก 100 ล้านบาทใช้ตกแต่งร้านค้าให้ดีลเลอร์และลูกตู้ รวมถึงสร้างแบรนด์ช็อปให้ครบ 10 แห่ง จากที่มีอยู่ 3 แห่ง (กรุงเทพฯ, เชียงใหม่ และภูเก็ต) ปัจจุบันมีสินค้า 3 รุ่น ราคา 4,990-7,990 บาท

"เราอยากทำตลาดในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเจ้าอื่น และด้วยความที่เน้นทำตลาดออนไลน์จึงอยากให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าบนโซเชียลจึงสร้างคลับเมมเบอร์ออนไลน์ของผู้ใช้ไอมี่ สมัครโดยใช้เลขอีมี่ของสมาร์ทโฟน ใช้พูดคุยผ่านเว็บไซต์ ทำกิจกรรม และรับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น ซื้อเครื่องต่อไปในราคาที่ถูกลง ในอนาคตจะมีสิทธิพิเศษ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ตอนนี้อยู่ระหว่างการเพิ่มสมาชิกในคลับให้มากขึ้น จากที่มี 6,000 ราย ตั้งเป้า 3 ปีข้างหน้าจะใช้กลยุทธ์โซเชียลคลับได้เต็มรูปแบบ ฐานลูกค้าเป็นผู้หญิง"



_____________________________________________________













หน้าใหม่ปลุกสมรภูมิสมาร์ทโฟนคึก โหมสร้างแบรนด์เลี่ยงแข่งราคาโฟกัสเฉพาะกลุ่ม



สำรวจแนวรุก "สมาร์ทโฟนแบรนด์น้องใหม่" เร่งสร้างแบรนด์ตามเก็บมาร์เก็ตแชร์ "วีโว่" ควัก 300-500 ล้านบาท โหมโฆษณายกระดับสินค้าเลี่ยงแข่งราคาเจาะวัยรุ่น "ไอมี่" ลุยช่องทางออนไลน์ สร้าง "โซเชียลคลับ" เพิ่มดีกรีตีซี้ลูกค้าผู้หญิง เตรียมเปิดไลน์สติ๊กเกอร์ชุด 2 ฟาก "วีโก้" ย้ำจุดขายมาตรฐานยุโรป เฮาส์แบรนด์ "อีโฟน" คุมมาตรฐานราคาและเพิ่มช่องทางขายออนไลน์


นายณฐกร จรูญโรจน์ ผู้อำนวยการแบรนด์ บริษัท วีโว่ เซอร์วิส (ประเทศไทย) ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายสมาร์ทโฟนแบรนด์วีโว่ (Vivo) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในปีนี้จะเพิ่มความเข้มข้นในการทำตลาดมากขึ้น หลังเริ่มเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปีที่แล้ว โดยจะใช้งบประมาณ 300-500 ล้านบาท แบ่งครึ่งหนึ่งไปกับการสร้างการรับรู้ในแบรนด์ไปยังผู้บริโภคโดยเร็วที่สุด ด้วยการโฆษณาประชาสัมพันธ์ โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายวัยรุ่น แบ่งเป็นผ่านสื่อออนไลน์ และออฟไลน์ เช่น โฆษณาผ่านรายการวิทยุซี้ดเอฟเอ็ม, โฆษณาทางช่อง 3 และช่อง 7 เป็นต้น รวมถึงการเปิดไลน์ออฟฟิเชียลและสติ๊กเกอร์เพื่อทำให้แบรนด์ใกล้ชิดกับผู้บริโภคยิ่งขึ้น

และใช้งบประมาณอีกครึ่งที่เหลือในการตกแต่งหน้าร้าน ทั้งที่เป็นแบรนด์ช็อปที่จะเพิ่มอีกมากจากที่มีอยู่ 6-7 แห่ง ทั้งที่บริหารเอง เช่น ที่พารากอน, เซ็นทรัลเวิลด์ เซ็นทรัล บางนา เป็นต้น และให้ตัวแทนบริหาร ซึ่งตัวเลขการขยายสาขายังไม่นิ่ง ขึ้นอยู่กับทำเลและการตอบรับจากลูกค้าในพื้นที่ นอกจากนี้ยังเตรียมเปิดศูนย์บริการหลังการขายแห่งแรกที่มาบุญครอง

"ในโมบายเอ็กซ์โป ก.พ.ที่ผ่านมา เป็นครั้งที่ 2 ที่เราไปออกงาน ได้รับการตอบรับที่ดีจากลูกค้า มียอดขายมากขึ้นกว่าครั้งที่ผ่านมา 50% แบรนด์เริ่มเป็นที่รู้จัก ปัจจุบันมีสินค้า 9 รุ่น ราคา 4,990-15,990 บาท สินค้าที่ขายดีราคาเฉลี่ยที่ 13,000-14,000 บาท เพราะวางโพซิชั่นในกลุ่มมิดเอนด์เป็นหลัก"

ล่าสุดเพิ่งเปิดตัว "วีโว่ เอ็กไฟว์แม็กซ์" ราคา 15,990 บาท เป็นรุ่นเด่นของต้นปี หน้าจอ 5.5 นิ้ว ซีพียูออคตาร์คอร์ 1.5 GHz กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล กล้องหลัง 13 ล้านพิกเซล และจะทยอยนำรุ่นใหม่เข้ามาอีกหลายรุ่น ราคาตั้งแต่ 3,000-20,000 บาท

"ปีที่แล้วเน้นกระจายสินค้าไปตามร้านค้าปลีก ปีนี้จะสร้างการรับรู้ในแบรนด์ ส่วนช่องทางการขายผ่านโอเปอเรเตอร์อยู่ระหว่างเจรจากับโอเปอเรเตอร์ ส่วนช่องทางออนไลน์ไม่เน้นมาก แต่มีร้านค้าปลีกนำสินค้าไปขึ้นเว็บขายบ้าง ซึ่งเราไม่ค่อยอยากให้ทำ เพราะต้องการคุมราคาบนทุกช่องทางให้เป็นราคาเดียว"

นายณฐกรกล่าวต่อว่า ตลาดสมาร์ทโฟนปีนี้กลุ่มมิดเอนด์จะได้รับการตอบรับดีที่สุด ขณะที่สมาร์ทโฟนที่โอเปอเรเตอร์ทำตลาดเองจะกระทบแบรนด์ที่เน้นโลว์เอนด์ ซึ่งวีโว่ไม่ได้เน้น บริษัทตั้งเป้ามาร์เก็ตแชร์ปีนี้ไว้ 5% มีเป้าหมายระยะยาวให้แบรนด์อยู่ในกลุ่มห้าอันดับแรกในไทย

ด้านนายไมตรี จางเจริญสุข ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอมี่ เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด ผู้นำเข้าและจำหน่ายสมาร์ทโฟนแบรนด์ไอมี่ (iMI) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยังคงเน้นทำตลาดผ่านช่องทางออนไลน์มากที่สุด และไม่ได้ตั้งเป้าแข่งกับใคร เน้นขยายตลาดของตนเองเพื่อเป็นทางเลือกของผู้ใช้สมาร์ทโฟนโดยเฉพาะกลุ่มผู้หญิง เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว เช่น กล้องฟรุ้งฟริ้ง

ขณะที่ภาพรวมตลาดมีการแข่งขันค่อนข้างรุนแรง สำหรับงบประมาณการตลาดปีนี้อยู่ที่ 200 ล้านบาท แบ่งเป็นการตลาดออนไลน์ 50 ล้านบาท ซึ่งช่วงเดือน เม.ย.จะเปิดตัวไลน์สติ๊กเกอร์ชุดที่ 2 อีก 50 ล้านบาท ในการโฆษณาผ่านเคเบิลทีวี และเป็นสปอนเซอร์ในรายการทีวี

และอีก 100 ล้านบาทใช้ตกแต่งร้านค้าให้ดีลเลอร์และลูกตู้ รวมถึงสร้างแบรนด์ช็อปให้ครบ 10 แห่ง จากที่มีอยู่ 3 แห่ง (กรุงเทพฯ, เชียงใหม่ และภูเก็ต) ปัจจุบันมีสินค้า 3 รุ่น ราคา 4,990-7,990 บาท

"เราอยากทำตลาดในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเจ้าอื่น และด้วยความที่เน้นทำตลาดออนไลน์จึงอยากให้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์กับลูกค้าบนโซเชียลจึงสร้างคลับเมมเบอร์ออนไลน์ของผู้ใช้ไอมี่ สมัครโดยใช้เลขอีมี่ของสมาร์ทโฟน ใช้พูดคุยผ่านเว็บไซต์ ทำกิจกรรม และรับสิทธิพิเศษต่าง ๆ เช่น ซื้อเครื่องต่อไปในราคาที่ถูกลง ในอนาคตจะมีสิทธิพิเศษ เช่น ร้านอาหาร ร้านกาแฟ ตอนนี้อยู่ระหว่างการเพิ่มสมาชิกในคลับให้มากขึ้น จากที่มี 6,000 ราย ตั้งเป้า 3 ปีข้างหน้าจะใช้กลยุทธ์โซเชียลคลับได้เต็มรูปแบบ ฐานลูกค้าเป็นผู้หญิง"

ส่วนช่องทางการขาย นอกจากหน้าเว็บไซต์ไอมี่, ลาซาด้า, ทีวีไดเร็ค และร้านซีเอสซีแล้ว อยู่ระหว่างการเจรจากับเจมาร์ท, ทีจีโฟน รวมทั้งเอไอเอส และตั้งเป้ายอดขายทั้งปีไว้ที่ 1,000-1,500 ล้านบาท เตรียมนำสินค้ารุ่นใหม่เข้ามาอีก 5 รุ่น ราคาตั้งแต่ 4,500-10,000 บาท เป็น 4G 2 รุ่น และรุ่นที่พัฒนาให้บางขึ้น 1 รุ่น และราคาไม่แพงแต่สเป็กดีอีก 2 รุ่น







นายสิทธิชัย แซ่ลิ้ม ผู้จัดการ หจก.อีโฟน เจ้าของสมาร์ทโฟนเฮาส์แบรนด์ "อีโฟน" (Ephone) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เฮาส์แบรนด์ต้องปรับตัวมากขึ้น เพราะตลาดแข่งขันสูงจากแบรนด์อินเตอร์ที่เข้ามาทำตลาดไทยในทุกกลุ่มราคา โดยเฉพาะระดับกลางถึงล่าง รวมทั้งการสั่งผลิตสมาร์ทโฟนราคาถูกโดยโอเปอเรเตอร์เพื่อขยายผู้ใช้ดาต้าทำให้เฮาส์แบรนด์ทำตลาดแบบเดิมเน้นขายส่งผ่านดีลเลอร์และลูกตู้ไม่ได้แล้ว แต่ต้องพัฒนาให้มีมาตรฐานและสร้างแบรนด์มากขึ้น

"อินเตอร์แบรนด์มีข้อได้เปรียบที่กระบวนการบริหารจัดการและคุมราคาปลายทางได้ทำให้มีมาร์จิ้นแน่นอน ขณะที่เฮาส์แบรนด์หลายเจ้ายังไม่ตระหนักเรื่องนี้และคุมราคาไม่ได้เมื่อตลาดล่างมีโอเปอเรเตอร์ครองอยู่ เพราะกดราคาให้ต่ำหรือขายขาดทุนเพื่อเอารายได้จากแพ็กเกจรายเดือนมาแทน เฮาส์แบรนด์จึงต้องเปลี่ยนวิธีการทำตลาดและกลุ่มเป้าหมาย"

สำหรับ "อีโฟน" ทำตลาดมาประมาณ 2 ปี เน้นขายผ่านดีลเลอร์ในต่างจังหวัด โดยไม่ได้คุมราคาขายก็เริ่มมีกำหนดราคาปลายทางเมื่อปลายปีที่ผ่านมา และสร้างการรับรู้ในแบรนด์ผ่านช่องทางออนไลน์ โดยแบ่งงบฯการตลาดออนไลน์ 5% จากยอดขาย และเพิ่มช่องทางการขายออนไลน์ โดยจะขายผ่านเว็บไซต์ลาซาด้า

และเตรียมนำเครื่องรุ่นใหม่ที่มีราคาสูงขึ้นเข้ามาอีก 2 รุ่น เช่น รุ่นรองรับ 4G ราคา 3,990 บาท และรุ่นซีพียูออคตาร์คอร์ กล้องหน้า 8 ล้านพิกเซล กล้องหลัง 13 ล้านพิกเซล เพื่อจับตลาดมิดทูโลว์และกลุ่มวัยรุ่นมากขึ้น ปัจจุบันมี 5 รุ่น ราคา 2,190-3,990 บาท เน้นลูกค้าต่างจังหวัด ที่ขายดีสุดคือ E19 ซีพียูควอดคอร์ 1.3 GHz จอเอชดี 5 นิ้ว กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล กล้องหลัง 8 ล้านพิกเซล ราคา 3,990 บาท

ขณะที่นางกนิษฐา อุยยามะพันธ์ หัวหน้าฝ่ายการตลาด บริษัท วีโก โมบาย (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จำหน่ายสมาร์ทโฟนแบรนด์วีโก (Wiko) กล่าวว่า เข้ามาทำตลาดในไทยเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว เพราะมองว่าตลาดสมาร์ทโฟนเติบโตขึ้นทุกปีจึงเป็นโอกาสในการเข้ามาทำตลาด ปัจุบันมีสินค้า 9 รุ่น เน้นระดับล่างถึงกลาง มีราคา 1,900-6,990 บาท แม้กลุ่มสินค้าจะเป็นช่วงราคาที่คู่แข่งเยอะ แต่คุณภาพมาตรฐานยุโรปในฐานะแบรนด์อันดับ 2 ของฝรั่งเศสเป็นจุดขายที่ทำให้สินค้าแตกต่าง

"ถ้าสินค้าไม่ดีจริงคงไม่ได้รับการตอบรับขนาดนี้ แม้การแข่งขันจะสูงแต่สุดท้ายผู้บริโภคจะเลือกสิ่งที่ดีที่สุด ปีนี้จะทำตลาดเต็มรูปแบบ ตั้งงบฯไว้ 500 ล้านบาท เพื่อให้มีมาร์เก็ตแชร์ 5-6% ในสิ้นปี รุ่นที่ขายดีที่สุดคือไฮเวย์ไซน์จอ 4.7 นิ้ว ซีพียูออคตาร์คอร์ 1.4 GHz กล้องหลัง 8 ล้านพิกเซล กล้องหน้า 5 ล้านพิกเซล ราคา 6,990 บาท"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1426739324

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.