Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

24 มีนาคม 2558 มติที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นัดแรก เมื่อ 18 มี.ค.ที่ อนุมัติแผนการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์อีกราว 40 แห่งจะเริ่มลงมือสร้างดาต้าเซ็นเตอรได้ภายใน 12 เดือน

ประเด็นหลัก


สำหรับมติที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นัดแรก เมื่อ 18 มี.ค.ที่ผ่านมาได้อนุมัติแผนการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์อีกราว 40 แห่ง โดยจะมีหน่วยงานใต้สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นผู้ประสานและวางเกณฑ์การเชื่อมต่อดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมดในประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่การลงทุนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์จะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนสร้าง โดยหน่วยงานกลางของไอซีทีจะเป็นผู้จัดประมูลภายใต้เงื่อนไขข้อกำหนดทางเทคนิค (TOR) ที่กำหนดไว้ ซึ่งดาต้าเซ็นเตอร์แต่ละครั้งจะมีหน่วยงานรัฐเข้าไปเช่าใช้ราว 50% ที่เหลือเอกชนที่ลงทุนสามารถเปิดให้เอกชนด้วยกันเช่าใช้ได้

คาดว่าโครงการนี้จะเริ่มลงมือสร้างดาต้าเซ็นเตอรได้ภายใน 12 เดือน โดยจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมดราว 10 เดือน กระตุ้นให้เม็ดเงินลงทุนจากภาคเอกชนได้กว่า 30,000 ล้านบาท


_____________________________________________________













รัฐสั่งระงับงบสร้างดาต้าเซ็นเตอร์หน่วยงานรัฐ ปูทางสร้างระบบกลาง 3 หมื่นล้าน



ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า รัฐบาลประเดิมนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัล สั่งระงับงบสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ของหน่วยงานรัฐ ยกเว้น "กลาโหม-คลัง" ปูทางผลักดันแผนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์กลาง 40 แห่งทั่วประเทศของคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม หวังลดการลงทุนซ้ำซ้อน

ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองประธานคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เปิดเผยว่า  การผลักดันนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูล ทั้งแผนบรอดแบนด์และการตั้งดาต้าเซ็นเตอร์ ซึ่งได้แจ้งไปยังทุกหน่วยงานภาครัฐให้ระงับการอนุมัติงบประมาณสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ของตัวเอง เพื่อเตรียมเปลี่ยนไป "เช่าใช้" ตามโครงการดาต้าเซ็นเตอร์ที่บอร์ดดิจิทัลฯ จะผลักดันให้เอกชนมาลงทุนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์ 40 แห่งทั่วประเทศ รองรับการใช้งานของหน่วยงานรัฐ 112 แห่ง ยกเว้นกระทรวงกลาโหมและกระทรวงการคลัง ที่จำเป็นต้องมีดาต้าเซ็นเตอร์ที่มีมาตรฐานเฉพาะ

"การรวมให้มีดาต้าเซ็นเตอร์กลาง จะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการสร้างและบำรุงรักษา ซึ่งในสหรัฐอเมริกา สามารถลดค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้ถึง 564,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี และทำให้ประสานข้อมูลระหว่างหน่วยงานทำได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น โดยในช่วง 1 – 2 ปีแรกจะทำให้เกิดการลงทุนสูงถึง 3 – 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งภาครัฐจะสนับสนุนการลงทุนอย่างเต็มที่ผ่านบีโอไอ (คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ที่สำคัญที่สุดก็คือ ดาต้าเซ็นเตอร์ทุกแห่งจะมีการเชื่อมต่อถึงกัน และสามารถนำไปสู่การบริหารข้อมูลขนาดใหญ่อย่างเช่น Big Data ได้ในอนาคต"

สำหรับมติที่ประชุมคณะกรรมการเตรียมการด้านดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นัดแรก เมื่อ 18 มี.ค.ที่ผ่านมาได้อนุมัติแผนการสร้างดาต้าเซ็นเตอร์อีกราว 40 แห่ง โดยจะมีหน่วยงานใต้สังกัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เป็นผู้ประสานและวางเกณฑ์การเชื่อมต่อดาต้าเซ็นเตอร์ทั้งหมดในประเทศให้มีมาตรฐานเดียวกัน ขณะที่การลงทุนสร้างดาต้าเซ็นเตอร์จะเปิดให้เอกชนเข้ามาลงทุนสร้าง โดยหน่วยงานกลางของไอซีทีจะเป็นผู้จัดประมูลภายใต้เงื่อนไขข้อกำหนดทางเทคนิค (TOR) ที่กำหนดไว้ ซึ่งดาต้าเซ็นเตอร์แต่ละครั้งจะมีหน่วยงานรัฐเข้าไปเช่าใช้ราว 50% ที่เหลือเอกชนที่ลงทุนสามารถเปิดให้เอกชนด้วยกันเช่าใช้ได้

คาดว่าโครงการนี้จะเริ่มลงมือสร้างดาต้าเซ็นเตอรได้ภายใน 12 เดือน โดยจะใช้เวลาก่อสร้างทั้งหมดราว 10 เดือน กระตุ้นให้เม็ดเงินลงทุนจากภาคเอกชนได้กว่า 30,000 ล้านบาท

ขณะเดียวกันได้อนุมัติแผนบรอดแบนด์แห่งชาติ เพื่อให้ทุกครัวเรือนในประเทศเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ภายในปี 2560 โดยรวมเสาโทรคมนาคมและเคเบิลใยแก้วนำแสงที่อยู่ในมือของภาครัฐและเอกชนมาไว้ด้วยกันในบริษัทกลางที่จะมีรัฐและเอกชนซึ่งเป็นเจ้าของโครงข่ายเดิมมาถือหุ้นร่วมกัน เพื่อสร้างโครงข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศและลดการลงทุนซ้ำซ้อน ส่วนพื้นที่ยังไม่มีโครงข่ายจะมีการระดมทุนเพิ่มเติมเพื่อสร้างขึ้นใหม่ คาดว่าจะใช้เวลาตั้งบริษัทได้ภายใน 6 เดือน และภายใน 10 เดือนจะเริ่มลงมือเชื่อมต่อโครงข่ายทั้งหมดเข้าไว้ด้วยกัน โดยคาดว่าจะใช้เวลานับจากเริ่มลงมือเชื่อมโครงข่ายราว 1 ปี ที่ทุกหมู่บ้านจะมีโครงข่ายบรอดแบนด์ไปถึง

โดยจะตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินการตามแผนบรอดแบนด์แห่งชาติในทันที มีรองนายกรัฐมนตรี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เป็นประธานคณะกรรมการชุดนี้ ส่วนกรรมการจะมาจากผู้เป็นเจ้าของโครงข่ายที่จะถูกนำมาร่วมกันเป็นโครงข่ายแห่งชาติ

อีกโครงการที่บอร์ดดิจิทัลได้อนุมัติคือ การให้บริการภาครัฐแบบไร้กระดาษ โดยจะนำร่องใน 7 กระทรวงก่อน คาดว่าจะต้องใช้เวลาเตรียมการประมาณ 5 เดือนเนื่องจากต้องมีการปรับเปลี่ยนแก้ไขระเบียบวิธีการปฏิบัติงานสำหรับงานบริการประชาชนราว 100 บริการ

นอกจากนี้ยังตั้งคณะกรรมการเพื่อผลักดันการส่งเสริมผู้ประกอบการด้านดิจิทัล โดยจะมีตัวแทนจากสมาคมที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันสรุปข้อเสนอจากภาคเอกชนว่าต้องการให้ภาครัฐเข้ามาสนับสนุนผู้ประกอบการกลุ่มนี้อย่างไรบ้าง รวมถึงการตั้งกองทุนร่วมทุน (VC Fund) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการหน้าใหม่ โดยภายในเดือนหน้าจะมีการสรุปข้อเสนอทั้งหมดให้บอร์ดดิจิทัลพิจารณา

พร้อมกันนี้ยังได้อนุมัติโครงการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยตั้งคณะกรรมการขึ้นมาประสานงานกับกระทรวงศึกษาธิการเพื่อเตรียมนำเนื้อหาความรู้ทั้งหมดที่มีอยู่แล้วเปลี่ยนเป็นดิจิทัลคอนเทนต์ พร้อมกับเตรียมพร้อมอุปกรณ์ในการเรียนรู้ให้กับโรงเรียนตามชายขอบ


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1427108578

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.