Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

13 มีนาคม 2558 (เกาะติดประมูล4G) "กทค." ไฟเขียวแก้ตารางคลื่นความถี่แห่งชาติใหม่ ดันคลื่น 900 MHz ทั้ง 20 MHz เป็นใบละ 10 MHz อนุมัติให้อัพเกรดการใช้วิทยุสื่อสารทรังก์เรดิโอ 800 MHz เป็นดิจิทัลได้ แต่ต้องกันคลื่นไว้เพื่อการใช้ในภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ประเด็นหลัก


"ผลการศึกษาของผู้ผลิตอุปกรณ์ และโอเปอเรเตอร์ต่างประเทศหลายรายสรุปตรงกันว่า การ์ดแบนด์ยุคดิจิทัลจะใช้คลื่นเล็กลง ไม่ต้องกันไว้ถึง 2.5 MHz ไอทียูก็เห็นด้วยเพื่อให้ใช้คลื่นได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่ต้องทิ้งเศษคลื่นให้เสียเปล่า"

กระบวนการจากนี้จะนำร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ พร้อมภาคผนวก เข้าที่ประชุม กสทช. (18 มี.ค.)ก่อนเข้าสู่กระบวนการประชาพิจารณ์ เพื่อปรับปรุงและนำกลับให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้ง ในไม่เกิน 60 วัน

"หากประกาศใช้ตารางกำหนดคลื่นฯ ทันก่อนประมูล 4G การประมูลคลื่น 900 MHz ก็จะมี 2 ใบอนุญาต ใบละ 10 MHz ดีกว่าแบบเดิม ส่งผลให้มูลค่าคลื่นสูงขึ้น เดิม 900 MHz กทค.แบ่ง 2 ชุด ชุดที่ 1 ช่วง 897.5-905 MHz (Uplink) คู่กับ 942.5-950 MHz (Downlink) ราคาตั้งต้น 8,445 ล้านบาท ชุดที่ 2 ช่วง 905-915 MHz (Uplink) คู่กับ 950-960 MHz (Downlink) ราคาตั้งต้น 11,260 ล้านบาท อายุใบอนุญาต 15 ปี"

และบอร์ด กทค.ยังอนุมัติให้อัพเกรดการใช้วิทยุสื่อสารทรังก์เรดิโอ 800 MHz จากระบบแอนะล็อกเป็นดิจิทัลได้ แต่ต้องกันคลื่นไว้เพื่อการใช้ในภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการสื่อสารบนรถไฟความเร็วสูง ปัจจุบันความถี่ย่านดังกล่าวกสท โทรคมนาคม และวิทยุการบินใช้งานในรูปแบบทรังก์เรดิโอ



_____________________________________________________


















แก้ตารางความถี่ลดการ์ดแบนด์ ได้คลื่น 900-20MHz แบ่ง 2 ไลเซส์

"กทค." ไฟเขียวแก้ตารางคลื่นความถี่แห่งชาติใหม่ ดันคลื่น 900 MHz ประมูลทั้ง 20 MHz ไม่ต้องมีการ์ดแบนด์ 2.5 MHz พร้อมให้อัพเกรดทรังก์เรดิโอดิจิทัลบนคลื่น 800 MHz ทั้งลุ้น "กสทช." ใหม่ 11 มี.ค.นี้

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) เมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบการปรับปรุงตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ ย่าน 890-960 MHz มีผลให้การใช้ในกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 900 MHz ไม่ต้องกันคลื่นไว้เป็นการ์ดแบนด์ที่ 2.5 MHz เพื่อป้องกันการกวนกันของคลื่น ทำให้การจัดสรรคลื่น 900 MHz นำทั้งหมด 20 MHz ออกประมูลได้ทันที จากเดิมที่เคยเตรียมประมูลคลื่น 900 MHz ภายใต้สัมปทานเอไอเอส ก่อนคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ระงับไว้ก่อนนำแถบคลื่นมาประมูลแค่ 17.5 MHz แบ่ง 2 ใบอนุญาต (10 MHz และ7.5 MHz)

"ผลการศึกษาของผู้ผลิตอุปกรณ์ และโอเปอเรเตอร์ต่างประเทศหลายรายสรุปตรงกันว่า การ์ดแบนด์ยุคดิจิทัลจะใช้คลื่นเล็กลง ไม่ต้องกันไว้ถึง 2.5 MHz ไอทียูก็เห็นด้วยเพื่อให้ใช้คลื่นได้เต็มประสิทธิภาพ ไม่ต้องทิ้งเศษคลื่นให้เสียเปล่า"

กระบวนการจากนี้จะนำร่างตารางกำหนดคลื่นความถี่แห่งชาติ พร้อมภาคผนวก เข้าที่ประชุม กสทช. (18 มี.ค.)ก่อนเข้าสู่กระบวนการประชาพิจารณ์ เพื่อปรับปรุงและนำกลับให้บอร์ดพิจารณาอีกครั้ง ในไม่เกิน 60 วัน

"หากประกาศใช้ตารางกำหนดคลื่นฯ ทันก่อนประมูล 4G การประมูลคลื่น 900 MHz ก็จะมี 2 ใบอนุญาต ใบละ 10 MHz ดีกว่าแบบเดิม ส่งผลให้มูลค่าคลื่นสูงขึ้น เดิม 900 MHz กทค.แบ่ง 2 ชุด ชุดที่ 1 ช่วง 897.5-905 MHz (Uplink) คู่กับ 942.5-950 MHz (Downlink) ราคาตั้งต้น 8,445 ล้านบาท ชุดที่ 2 ช่วง 905-915 MHz (Uplink) คู่กับ 950-960 MHz (Downlink) ราคาตั้งต้น 11,260 ล้านบาท อายุใบอนุญาต 15 ปี"

และบอร์ด กทค.ยังอนุมัติให้อัพเกรดการใช้วิทยุสื่อสารทรังก์เรดิโอ 800 MHz จากระบบแอนะล็อกเป็นดิจิทัลได้ แต่ต้องกันคลื่นไว้เพื่อการใช้ในภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รวมถึงการสื่อสารบนรถไฟความเร็วสูง ปัจจุบันความถี่ย่านดังกล่าวกสท โทรคมนาคม และวิทยุการบินใช้งานในรูปแบบทรังก์เรดิโอ

ส่วนความคืบหน้าในการสรรหา กสทช.ด้านกฎหมาย แทน นายสุทธิพล ทวีชัยการ วันที่ 11 มี.ค.นี้ สนช. จะลงคะแนนเลือกจาก 4 คน 1.นายทวีเดช เส้งแก้ว (ทนายความสำนักงานกฎหมายนิติธาดา และอนุกรรมการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ กสทช.) 2.นายธนกรณ์ พูนภิญโญศักดิ์ (ทนายความ และผู้ปฏิบัติงานประจำรองประธาน กสทช.) 3.รศ.นิพันธ์ จิตะสมบัติ (อ.ประจำหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต ดุษฎีบัณฑิต ศรีปทุม) 4.พลตรีสุพิชาติ เสนานุรักษ์ (ผู้ปฏิบัติงานประจำรองประธาน กสทช.)


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1426134981

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.