Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 มีนาคม 2558 บก.ปอศ. เปิดเผยว่า ตลอดปี 2557 ได้ดำเนินคดีกับบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ 197 บริษัท มูลค่าของที่มีการละเมิด 456 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556

ประเด็นหลัก


พ.อ.อ.กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บัญชาการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) เปิดเผยว่า ตลอดปี 2557 ได้ดำเนินคดีกับบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ 197 บริษัท มูลค่าของที่มีการละเมิด 456 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 ที่มีการดำเนินคดี 247 บริษัท มูลค่าความเสียหาย 510.85 ล้านบาท เนื่องจากการปราบปรามอย่างหนัก โดยซอฟต์แวร์ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มาก ได้แก่ ไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, ไมโครซอฟท์, ออโต้เดสก์, ซีเมนส์, เทคกล้า และมาสเตอร์แคม



_____________________________________________________














"ซอฟต์แวร์เถื่อน" ปี 2557 ลดเหลือ 456 ล้านบาท


"บก.ปอศ." โชว์ตัวเลขมูลค่าซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ลดต่อเนื่อง ปี"57 เหลือ 456 ล้านบาท หลังปราบปรามอย่างหนัก เน้นทำงานเชิงรุก-เร่งประชาสัมพันธ์ให้องค์กรธุรกิจในไทยตระหนักถึงอันตรายจากการใช้ของผิด กม. เปิดช่องภัยไซเบอร์

พ.อ.อ.กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บัญชาการ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) เปิดเผยว่า ตลอดปี 2557 ได้ดำเนินคดีกับบริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ 197 บริษัท มูลค่าของที่มีการละเมิด 456 ล้านบาท ลดลงจากปี 2556 ที่มีการดำเนินคดี 247 บริษัท มูลค่าความเสียหาย 510.85 ล้านบาท เนื่องจากการปราบปรามอย่างหนัก โดยซอฟต์แวร์ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มาก ได้แก่ ไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, ไมโครซอฟท์, ออโต้เดสก์, ซีเมนส์, เทคกล้า และมาสเตอร์แคม

ขณะที่ผลสำรวจของบริษัทวิจัยไอดีซีระบุว่า การละเมิดลิขสิทธิ์ของบริษัทห้างร้านในไทยได้ลดลงอย่างต่อเนื่อง จากปี 2549 ที่มีบริษัทในไทยถึง 80% ที่ใช้ ลดลงเหลือ 71% ในปี 2556

สำหรับนโยบายของ บก.ปอศ. ในปีนี้จะทำงานเชิงรุกให้มากขึ้น แม้การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะลดลง โดยจะเร่งประชาสัมพันธ์ให้องค์กรต่าง ๆ ทราบถึงอันตรายจากการใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ที่จะเปิดช่องให้อาชญากรไซเบอร์เจาะเข้าระบบข้อมูล และไอทีได้ง่าย โดยข้อมูลจากไอดีซีระบุว่ามีโอกาสถึง 33% ที่จะมีการเจาะระบบโดยอาศัยซอฟต์แวร์เถื่อน และ 25% มักมุ่งโจมตีองค์กรในภาคการผลิต ทั้งยังมีผลต่อการตัดสิทธิทางการค้ากับต่างประเทศ อย่างสหรัฐอเมริกาที่ต่อต้านการทำธุรกิจกับคู่ค้าที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ด้วย ที่สำคัญคือผิดกฎหมาย มีโทษจำคุกสูงสุด 4 ปี หรือปรับไม่เกิน 800,000 บาท

"เราอยากให้บริษัททั้งหลายตระหนักว่าการใช้ซอฟต์แวร์ถูกกฎหมายเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และไม่แพงเลย 197 บริษัทที่โดนดำเนินคดีในปีที่ผ่านมา มีรายได้เฉลี่ยบริษัทละ 211 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าเฉลี่ยของซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์แค่ 2.31 ล้านบาทต่อบริษัท"

สำหรับภาคธุรกิจที่จะเน้นเข้าตรวจสอบคือ กลุ่มธุรกิจการผลิต และก่อสร้าง เนื่องจากมีแนวโน้มใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย ทั้งเตรียมขยายไปยังอุตสาหกรรมเครื่องจักร รับเหมาช่วง ยานยนต์และชิ้นส่วน การออกแบบสถาปัตยกรรม ตัวแทนจำหน่ายธุรกิจค้าส่ง อินเทอร์เน็ตคาเฟ่

ด้านนายสมพร มณีรัตนะกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย (ATSI) กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีมีระบบตรวจสอบและป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ดีขึ้น รวมถึงมีการกวดขันของเจ้าหน้าที่ แต่อุปสรรคสำคัญในกระบวนการดำเนินคดี คือยังไม่มีผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานเฉพาะด้านซอฟต์แวร์ที่เป็นพยานผู้เชี่ยวชาญในชั้นศาลได้ โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ไทยทำให้กระบวนการพิจารณาคดีล่าช้า

"ในชั้นศาลจำเป็นต้องมีพยานผู้เชี่ยวชาญเฉพาะที่จะชี้ว่าซอฟต์แวร์ไหนถูกลิขสิทธิ์อันไหนละเมิดสิทธิ์ ที่ผ่านมาไม่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ ไม่มีใครค่อยอยากจะมาเป็นพยานให้ องค์กรเชี่ยวชาญเฉพาะก็ยังไม่มี จึงอยากให้ภาครัฐช่วยสร้างกลุ่มผู้เชี่ยวชาญหรือหน่วยงานมารองรับ"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425526680

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.