Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มีนาคม 2558 ปลัด ICT.เมธินี ระบุ เป้าหมายกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่รัฐบาลชุดนี้ได้วางไว้ กำหนดเป้าหมายและกรอบยุทธศาสตร์ คือ การมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มีขนาดเพียงพอ และ มีค่าบริการไม่สูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค

ประเด็นหลัก


**ยุทธศาสตร์เป้าหมาย
    สำหรับเป้าหมายที่รัฐบาลชุดนี้ได้วางไว้  กำหนดเป้าหมายและกรอบยุทธศาสตร์ คือ  การมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มีขนาดเพียงพอ และ มีค่าบริการไม่สูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ขณะที่ภาคประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิต และ การเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
    ขณะที่ภาคธุรกิจ สร้างผู้ประกอบการและธุรกิจดิจิทัลและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทาง ธุรกิจ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้และผู้ทำงานในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และสิ่งสำคัญยิ่ง คือ พัฒนากำลังคน การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวมทั้งระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    นอกจากนี้ การพัฒนาประเทศไทยให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนและประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล และสร้างความพร้อมด้านไอซีทีโดยรวมของประเทศไทยเพื่อยกอันดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันระหว่างประเทศ


_____________________________________________________















เปิดใจ ปลัดไอซีทีจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลฯ



เมธินี เทพมณีเมธินี เทพมณี เริ่มเห็นเค้าโครงการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  เมื่อนายพรชัย รุจิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า  พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้อนุมัติตั้งคณะกรรมการเศรษฐกิจดิจิทัลแห่งชาติ (บอร์ดดีอี) เป็นบอร์ดชั่วคราวเพื่อเตรียมความพร้อมการวางโครงสร้างแผนงานเพื่อเป็นกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม  โดยคาดว่ากฎหมายน่าจะแล้วเสร็จเดือนพ.ค.นี้
    อย่างไรก็ตาม “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นางเมธินี เทพมณี ปลัดกระทรวงไอซีที เกี่ยวกับแผนปฏิบัติการรองรับการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ติดตามอ่านได้จากบรรทัดถัดจากนี้
 ** เตรียมแผนอย่างไรบ้าง
    อยู่ระหว่างแบ่งสมบัติ เพราะต่อไปสำนักงานปลัดฯ ต้องเปลี่ยนชื่อเป็น สำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล  แบ่งโครงสร้างสำนักงานปลัดใหม่เดิมทำหน้าที่ไม่ครบวงจร แต่ต่อไปสำนักงานปลัดเศรษฐกิจดิจิทัล จะมีหน่วยงานพิเศษเข้ามาเสริมศักยภาพให้แข็งแกร่งขึ้น โดยจะมีการตั้งสำนังานพิเศษขึ้นมา และ มีบุคลากรจาก สวทช. (สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ) เข้ามาเสริมทีมงาน
 ** โครงสร้างใหม่
    สำหรับโครงสร้างกระทรวงไอซีที มีหน่วยงานทั้งหมด 12 หน่วยงาน แต่หลังจากปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ ปลัดสำนักงานเศรษฐกิจดิจิทัล มีหน่วยงานกำกับดูแลด้วยกันทั้งหมด 3 ยูนิต ประกอบด้วย กรมเศรษฐกิจดิจิทัล , สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจทัล หมายรวมถึง สำนักงานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งประเทศไทย หรือ ซิปป้า ที่ปัจจุบันมีพนักงานจำนวน 100 กว่าคน ทำหน้าที่ส่งเสริมงานพัฒนาซอฟต์แวร์  และ สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรม ส่งเสริมงานด้านอุตสาหกรรมไอซีที
    อย่างไรก็ตาม สำหรับการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคไอซีที นั้น กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม มีความคาดหวังให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตเพิ่มมากขึ้น โดยแผนแม่บท ไอซีที ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2552-2556  กำหนดเป้าหมายให้ประชาชนมีความรู้เพิ่มมากขึ้นในการใช้ ไอซีที โดยเฉพาะเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้มากกว่าเดิม ดังนั้นแผนแม่บท ไอซีที ฉบับที่ 3 พ.ศ.2557-2561 ส่งเสริมอุตสาหกรรมไอซีที ให้เป็นไปตามเป้าหมาย ขับเคลื่อนไอซีที เพื่อส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ลดต้นทุนในการบริหารจัดการ
 **ยุทธศาสตร์เป้าหมาย
    สำหรับเป้าหมายที่รัฐบาลชุดนี้ได้วางไว้  กำหนดเป้าหมายและกรอบยุทธศาสตร์ คือ  การมีโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล มีขนาดเพียงพอ และ มีค่าบริการไม่สูงกว่าประเทศอื่นในภูมิภาค ขณะที่ภาคประชาชน การยกระดับคุณภาพชีวิต และ การเข้าถึงบริการสาธารณะของประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม ทุกท้องถิ่น อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
    ขณะที่ภาคธุรกิจ สร้างผู้ประกอบการและธุรกิจดิจิทัลและสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทาง ธุรกิจ สร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้และผู้ทำงานในระบบเศรษฐกิจดิจิทัล และสิ่งสำคัญยิ่ง คือ พัฒนากำลังคน การวิจัย พัฒนา และนวัตกรรมรวมทั้งระบบการศึกษาขั้นพื้นฐาน
    นอกจากนี้ การพัฒนาประเทศไทยให้มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการลงทุนและประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีดิจิทัล และสร้างความพร้อมด้านไอซีทีโดยรวมของประเทศไทยเพื่อยกอันดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันระหว่างประเทศ
**กรอบการทำงาน
    อย่างที่บอกเรื่องเร่งด่วน คือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจ  บทบาทของกระทรวงใหม่  ต้องการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เน้นการพัฒนา Digital Content แบบบูรณาการ โดยจะมีการบูรณาการเนื้อหา/สารัตถะที่แปลงเข้าสู่ระบบดิจิทัล ในด้านการศึกษา ด้านวัฒนธรรม ด้านสาธารณสุข และด้านพัฒนาทักษะทางอาชีพ
    นอกจากนี้พัฒนา digital platform technology ที่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรมและบริการด้าน ไอซีที สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันได้ในระดับสากล เพื่อให้เกิดแพลตฟอร์มด้าน e-commerce (อี-คอมเมริซ์) , ด้านสาธารณสุข, ด้านการแปล ภาษา และด้าน Application Programming Interface (API) market place และ Open Service Platform
    พร้อมกันนี้จะมีการพัฒนาบุคลากร โดยการเพิ่มศักยภาพบุคลากรให้สอดคล้องกับความต้องการทั้งภาคการศึกษา ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม โดยจะมีการดำเนินการ พัฒนาบุคลากรที่มีทักษะใหม่ๆ ด้าน ไอซีที เพื่อสร้างให้เกิดธุรกิจ รูปแบบใหม่ พัฒนาบุคลากรทุกภาคส่วนให้ได้รับการพัฒนาทักษะและ การประยุกต์ ไอซีที
    ไม่เพียงเท่านี้ยังมีการบริหารจัดการ เน้นการบริหารจัดการเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างยั่งยืน โดยจะมีนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลอย่างบูรณาการ
    เกิดหน่วยงานกลางสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อการขับเคลื่อน เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล
    เกิดโครงการต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ อาทิ ชุมชนชายขอบ SMEs วิสาหกิจชุมชน ผู้ประกอบการรุ่นใหม่ เป็นต้น
    "กระทรวงมุ่งมั่นที่จะสร้างความเชื่อมั่นและขับเคลื่อนการทำงานภายใต้นโยบายดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมที่เอื้อต่อการพัฒนาธุรกิจการสื่อสารของประเทศไทยใน อนาคต ภายใต้กรอบการขับเคลื่อนดังกล่าว ภาคเอกชนจะต้องเป็นผู้นำการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม รัฐเป็นผู้อำนวยความสะดวกและส่งเสริมสนับสนุน"ปลัดกระทรวงไอซีทีกล่าวและว่า
    ทั้งนี้เพื่อร่วมกันผลักดันการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและเอื้อให้เกิดการประยุกต์ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม (Digital Economy)เพื่อส่งเสริมกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาว
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,032  วันที่  5 - 7  มีนาคม  พ.ศ. 2558




http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=267581:2015-03-03-09-50-06&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VPlmDUJAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.