Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มีนาคม 2558 AIS ระบุ กรณี KKBOX มีรายได้ในปีแรกประมาณ 30 ล้านบาท มีเพลงให้บริการ 20 ล้านเพลง เป็นเพลงไทย 100,000 เพลง และจากข้อมูล ณ ไตรมาส 2 ปี 2557 พบว่าลูกค้า 80-90% ชอบฟังเพลงไทย

ประเด็นหลัก



สำหรับเอไอเอสเปิดให้บริการ "เคเค บ็อกซ์" มิวสิกสตรีมมิ่งจากไต้หวันเพื่อเติมเต็มบริการ "เอไอเอส มิวสิคสโตร์" มากว่า 1 ปีแล้ว ในปีแรกไม่ได้โปรโมตมากนัก ทำให้มีลูกค้าที่ชำระค่าบริการรายเดือน 90,000 ไอดี ไม่ถึงตามเป้าที่ตั้งไว้ 200,000 ไอดี แต่ปลายปี 2557 เริ่มทำตลาดมากขึ้น มีโปรโมชั่นให้ทดลองใช้ฟรี 2 เดือน ทำให้มีผู้สมัครทดลองใช้เพิ่มขึ้น 80,000 ไอดี เริ่มโฆษณาโทรทัศน์เพื่อแสดงให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์ของการฟังเพลงสตรีมมิ่งออนไลน์ที่สะดวกสบาย

ตลาดรวมมิวสิกสตรีมมิ่งประเมินมูลค่าได้ยาก เพราะไม่มีการเก็บข้อมูลเป็นทางการ แต่ "เคเคบ็อกซ์" มีรายได้ในปีแรกประมาณ 30 ล้านบาท มีเพลงให้บริการ 20 ล้านเพลง เป็นเพลงไทย 100,000 เพลง และจากข้อมูล ณ ไตรมาส 2 ปี 2557 พบว่าลูกค้า 80-90% ชอบฟังเพลงไทย หากให้บริการเพลงไทยมากขึ้นน่าจะดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น และ 60% เป็นกลุ่มวัยเรียนระดับมหาวิทยาลัย-อายุ 40 ปี เป็นลูกค้าพรีเพด 40% โพสต์เพด 60%

"สิ่งสำคัญที่เป็นปัจจัยให้คนมาใช้งานอยู่ที่ราคา เรามีแพ็กเกจเสริมจากโปรโมชั่นหลัก 89 บาท/เดือนไม่รวมค่าอินเทอร์เน็ต ลูกค้าโพสต์เพดจ่ายได้อยู่แล้วเช่นกันกับพรีเพดที่ส่วนใหญ่เติมเงินสัปดาห์ละ 50-60 บาท หรือ 200 บาท/เดือน"



_____________________________________________________















หน้าใหม่แห่ลงตลาดเติมดีกรีแข่งดุ "เพลง-หนัง-ซีรีส์"รุมชิงเค้ก"ออนไลน์สตรีมมิ่ง"




"ออนไลน์สตรีมมิ่ง" สุดฮิต "หนัง-ซีรีส์-เพลง" แปลงโฉมโกออนไลน์พรึ่บพรั่บ "หน้าใหม่" แห่ลงตลาดปูพรมโปรโมตเต็มพิกัด "หน้าเก่า" เร่งสร้างความหลากหลายของเนื้อหาและอัดฉีดโปรโมชั่นปั๊มฐานลูกค้า ดีกรีแข่งขันพุ่งปรี๊ด แต่ตลาดยังเปิดกว้างรับขาขึ้น ระบุคอนเทนต์ละเมิดลิขสิทธิ์ยังเป็นปัญหาใหญ่ต้องเร่งสร้างความเข้าใจผู้บริโภค

นายไพโรจน์ ไววานิชกิจ ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส ส่วนงานบริการดิจิทัล บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่นมิวสิกสตรีมมิ่ง "เคเคบ็อกซ์" กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า แนวโน้มการบริโภคคอนเทนต์ในรูปแบบออนไลน์สตรีมมิ่งปี 2558 มีโอกาสเติบโตอีกมากจากการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตที่มากขึ้น ขณะที่พฤติกรรมคนไทยติดการรับชมคอนเทนต์ออนไลน์อยู่แล้ว เช่น ดูวิดีโอผ่านยูทูบ, รับชมรายการโทรทัศน์และภาพยนตร์ผ่านเว็บไซต์ละเมิดลิขสิทธิ์ เป็นต้น

"เทรนด์มิวสิกสตรีมมิ่งเพิ่งเกิดเต็มตัวจากยุคสมาร์ทโฟนบูม ขณะนี้เป็นช่วงที่ผู้ให้บริการให้ความรู้กับตลาดให้เข้าใจว่าคอนเทนต์บันเทิงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาพยนตร์หรือดนตรีเป็นสิ่งมีมูลค่า คนไทยชอบของฟรีต้องเปลี่ยนความคิดนี้ให้ได้"

สำหรับเอไอเอสเปิดให้บริการ "เคเค บ็อกซ์" มิวสิกสตรีมมิ่งจากไต้หวันเพื่อเติมเต็มบริการ "เอไอเอส มิวสิคสโตร์" มากว่า 1 ปีแล้ว ในปีแรกไม่ได้โปรโมตมากนัก ทำให้มีลูกค้าที่ชำระค่าบริการรายเดือน 90,000 ไอดี ไม่ถึงตามเป้าที่ตั้งไว้ 200,000 ไอดี แต่ปลายปี 2557 เริ่มทำตลาดมากขึ้น มีโปรโมชั่นให้ทดลองใช้ฟรี 2 เดือน ทำให้มีผู้สมัครทดลองใช้เพิ่มขึ้น 80,000 ไอดี เริ่มโฆษณาโทรทัศน์เพื่อแสดงให้เห็นถึงไลฟ์สไตล์ของการฟังเพลงสตรีมมิ่งออนไลน์ที่สะดวกสบาย

ตลาดรวมมิวสิกสตรีมมิ่งประเมินมูลค่าได้ยาก เพราะไม่มีการเก็บข้อมูลเป็นทางการ แต่ "เคเคบ็อกซ์" มีรายได้ในปีแรกประมาณ 30 ล้านบาท มีเพลงให้บริการ 20 ล้านเพลง เป็นเพลงไทย 100,000 เพลง และจากข้อมูล ณ ไตรมาส 2 ปี 2557 พบว่าลูกค้า 80-90% ชอบฟังเพลงไทย หากให้บริการเพลงไทยมากขึ้นน่าจะดึงดูดลูกค้าได้มากขึ้น และ 60% เป็นกลุ่มวัยเรียนระดับมหาวิทยาลัย-อายุ 40 ปี เป็นลูกค้าพรีเพด 40% โพสต์เพด 60%

"สิ่งสำคัญที่เป็นปัจจัยให้คนมาใช้งานอยู่ที่ราคา เรามีแพ็กเกจเสริมจากโปรโมชั่นหลัก 89 บาท/เดือนไม่รวมค่าอินเทอร์เน็ต ลูกค้าโพสต์เพดจ่ายได้อยู่แล้วเช่นกันกับพรีเพดที่ส่วนใหญ่เติมเงินสัปดาห์ละ 50-60 บาท หรือ 200 บาท/เดือน"




ด้านนายปฐมพงศ์ สิรชัยรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บมจ.โมโน เทคโนโลยี ผู้ให้บริการภาพยนตร์ผ่าน www.Doonung.com และ Video.mthai.com กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ตลาดการให้บริการภาพยนตร์สตรีมมิ่งที่มีการคิดค่าบริการรายเดือนยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น มีโอกาสขยายตัวได้อีกมาก เพราะการรับชมภาพยนตร์ออนไลน์สะดวกกว่า มีทั้งคอนเทนต์ที่มีลิขสิทธิ์และที่ผิดกฎหมาย ซึ่งการขยายโครงข่ายและความเร็วอินเทอร์เน็ตทำให้ภาพยนตร์สตรีมมิ่งมีโอกาสโตมากขึ้น

"อีกด้านภาพยนตร์สตรีมมิ่งผิดกฎหมายระบาดมากตามเว็บเถื่อนที่อาศัยการหาประโยชน์จากค่าโฆษณาหรือค่าบริการรายเดือนที่ถูกกว่า เพราะไม่จ่างที่พบคือเนื้อหาที่ละเมิดลิขสิทธิ์มีความละเอียดต่ำกว่า แต่เร็วกว่าในการตัดต่อเพื่อขึ้นฉาย ขณะที่คอนเทนต์มีลิขสิทธิ์ต้องเซ็นสัญญา ยค่าลิขสิทธิ์ทำให้เกิดการแข่งขันกันอย่างไม่เป็นธรรมระหว่างบริการถูกกฎหมายกับบริการที่ผิดกฎหมายจึงประเมินมูลค่ารวมของตลาดได้ยากว่าเป็นเท่าใด คนไทยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาไม่มาก ยังพยายามหาแหล่งดาวน์โหลด สิ่และทำเสียงพากย์ซึ่งต้องใช้เวลาพอสมควรในการแปลงเนื้อหา"

การแข่งขันในตลาดวิดีโอสตรีมมิ่งปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้นจากการมีคู่แข่งมากขึ้นโดยเฉพาะใน 1-3 ปีต่อจากนี้ ซึ่งบริษัทเองก็จะเร่งเพิ่มเนื้อหาคอนเทนต์ใหม่ ๆ ต่อเนื่อง เพื่อสร้างความหลากหลายของเนื้อหา และเพิ่มสื่อโฆษณาช่องทางต่าง ๆ ทั้งออนไลน์และสื่อหลัก ปัจจุบันมีภาพยนตร์กว่า 3,100 เรื่อง มีซีรีส์ฝรั่ง จีน ญี่ปุ่น โดยเฉพาะซีรีส์เกาหลีจาก 3 ค่ายใหญ่ การ์ตูน และสารคดีจากแนทจีโอ และทำตลาดด้วยแพ็กเกจเดียวที่ 129 บาทต่อเดือน

ขณะที่"นายจตุพล สุธีสถาพร" กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอสทีจี มีเดียเพล็กซ์ จำกัด ผู้ให้บริการซีรีส์ออนไลน์ Doonee.com กล่าวว่า บริษัทเป็นผู้บริหารลิขสิทธิ์ภาพยนตร์, ซีรีส์ และสารคดีต่างประเทศที่หันมาเป็นผู้ให้บริการคอนเทนต์ออนไลน์มีจุดขายที่ซีรีส์ฮอลลีวูด และจากการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่าคนชอบดูซีรีส์มากกว่าภาพยนตร์ในอัตราส่วน 70 : 30 หลังทดลองเปิดบริการ 2 เดือน มีผู้ใช้ 5,000 ราย กว่า 70% รับชมผ่านสมาร์ทดีไวซ์ อีก 30% รับชมผ่านพีซี และเดสก์ทอป

นายกษิดิศ กลศาสตร์เสนี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไพร์มไทม์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ ผู้ให้บริการทีวีออนไลน์ ออนดีมานด์ผ่านแอปพลิเคชั่น Primetime และเว็บไซต์ www.goprimetime.tv เปิดเผยว่า ความก้าวหน้าในการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทำให้รูปแบบโฮมเอ็นเตอร์เทนเมนต์เปลี่ยนไปเสพคอนเทนต์ผ่านอินเทอร์เน็ตแบบที่กำหนดเนื้อหาที่ต้องการได้บนแพลตฟอร์มที่ตนเองใช้

บริษัทเปิดตัวแอปพลิเคชั่นPrimetime พร้อมเว็บไซต์เพื่อให้บริการคอนเทนต์ แบ่งเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวูด และซีรีส์จากค่ายดัง ใช้เงินลงทุน 300 ล้านบาท แบ่งเป็นค่าลิขสิทธิ์คอนเทนต์ และระบบไอที 180 ล้านบาท และการตลาด 120 ล้านบาท มีแพ็กเกจให้เลือก 4 แบบ ได้แก่ บุฟเฟต์ภาพยนตร์ฮิต 199 บาท, บุฟเฟต์ภาพยนตร์ฮิต และภาพยนตร์เข้าใหม่ 2 เรื่อง 299 บาท, บุฟเฟต์ซีรีส์ ราคา 299 บาท และรวมทุกบริการ 549 บาทต่อเดือน (ซื้อ 12 เดือน เหลือ 399 บาทต่อเดือน)

"คนไทยเสพคอนเทนต์ออนไลน์เป็นปกติอยู่แล้ว บางกลุ่มพร้อมจ่ายเงินเพื่อชมคอนเทนต์ลิขสิทธิ์ ที่มีคุณภาพ สะดวกสบายในการเข้าถึง"

โดยร่วมกับ "ดีเอ็นเอ" ผู้จัดจำหน่ายดีวีดี ซีดี และคอมเซเว่น เป็นจุดจำหน่ายแพ็กเกจ "ออฟไลน์" และสร้างความรับรู้ให้ผู้บริโภคด้วยการทำมุมทดลองภายในร้าน และร่วมกับ "แอลจี" นำแอปไปไว้บนสมาร์ททีวีทุกเครื่องที่จะวางตลาดในเดือน เม.ย.เป็นต้น ปีแรกตั้งเป้ามีผู้ใช้ 200,000 ราย มีรายได้ 500 ล้านบาท เน้นลูกค้าที่มีพฤติกรรมไม่ดูทีวี และคนที่เคยใช้บริการวิดีโอออนดีมานด์จากต่างประเทศมาก่อน

"แม้ปีนี้จะมีผู้ให้บริการทีวีออนไลน์ออนดีมานด์หลายเจ้า แต่ตลาดยังเปิดกว้างปัจจัยที่ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบ ได้แก่ ราคา, คอนเทนต์ และพาร์ตเนอร์"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1425525693

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.