Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

06 มีนาคม 2558 (บทความ) กด กติกา ธุรกิจ : 4G กับการจัดสรรคลื่นความถี่ // ส่วนวิธีพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติ (Beauty Contest หรือ Public Tender) เป็นวิธีใหม่กำหนดในร่างพ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ แต่รัฐจะได้รับเงินในรูปแบบอื่นแทน เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล และค่าธรรมเนียมต่างๆแทน

ประเด็นหลัก


ส่วนวิธีพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติ (Beauty Contest หรือ Public Tender) เป็นวิธีใหม่กำหนดในร่างพ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ องค์กรที่กำกับดูแลจะวางหลักเกณฑ์ในเบื้องต้นเกี่ยวกับการให้บริการโทรคมนาคมไว้ ในประเทศแถบสแกนดิเนเวียหลักเกณฑ์เบื้องต้นจะกำหนดเป็นเอกสารหนาถึงร้อยกว่าหน้า ผู้สนใจประกอบการต่างต้องเสนอวิธีการบริหารจัดการคลื่นความถี่ เช่น อัตราค่าบริการ การครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการ วิธีนี้องค์กรที่กำกับดูแลจะคัดเลือกผู้ที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ แม้ว่าวิธีการนี้รัฐจะไม่ได้รับเงินจำนวนมหาศาลในคราวเดียวเหมือนวิธีการประมูล แต่รัฐจะได้รับเงินในรูปแบบอื่นแทน เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล และค่าธรรมเนียมต่างๆแทน ซึ่งอาจจะไม่มากในคราวเดียว แต่จะเก็บได้เรื่อยๆในระยะยาว เพราะใบอนุญาตจะมีอายุถึง 10-15 ปี รวมแล้วอาจเป็นจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกับที่ได้รับจากวิธีการประมูล


_____________________________________________________

















กด กติกา ธุรกิจ : 4G กับการจัดสรรคลื่นความถี่

การใช้โทรศัพท์มือถือในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอดีตที่การใช้โทรศัพท์มือถือจะเป็นเทคโนโลยี 2G ที่ติดต่อโดยการใช้เสียง (Voice) เป็นการโทร.เข้าโทร.ออก แต่ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือเป็นเทคโนโลยี 3G ที่สามารถรับส่งข้อมูล (DATA) ไม่ว่าจะเป็นข้อความตัวอักษร ข้อความเสียง รูปภาพ วีดีโอ ในหลายประเทศโทรศัพท์มือถือได้ใช้เทคโนโลยีระบบ 4G อย่างแพร่หลาย ทำให้การรับส่งข้อมูลมีความเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งทางด้านภาพและเสียง สามารถดาวน์โหลด หรือรับชมวีดีโอ และภาพยนตร์แบบความคมชัดสูง (HD หรือ High Definition) เพราะสามารถรับส่งข้อมูลได้ถึง 100 เมกะบิตต่อวินาที

การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในปี 2557 ที่ผ่านมา ทำให้การประมูลใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมย่าน 900 MHz และ 1800 MHz  ของไทย เพื่อใช้สำหรับโทรศัพท์มือถือ 4G  ต้องระงับลงชั่วคราว เพราะคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้มีคำสั่งฉบับที่ 94/2557 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการประมูลคลื่นความถี่ เพื่อกิจการโทรคมนาคมออกไปเป็นระยะเวลา 1 ปี รวมทั้งให้ กสทช. ดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้อง หรือแก้ไขปรับปรุง หรือยกเลิกกฎระเบียบประกาศ หรือคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับการประมูล เพื่อรองรับการดำเนินการให้เป็นไปด้วยความโปร่งใสและเป็นธรรม

ร่างพ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม หรือที่เรียกว่า ร่างพ.ร.บ.กสทช. เป็นหนึ่งในร่างกฎหมาย 10 ฉบับ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมไอทีและอินเตอร์เนตที่คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2558 และได้ส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณาร่างกฎหมายตาม พ.ร.บ.กสทช. ฉบับปัจจุบันที่ยังมีผลบังคับใช้ การจัดสรรคลื่นความถี่ในกิจการโทรคมนาคมจะต้องใช้วิธีการประมูลเท่านั้น แต่ร่างพ.ร.บ.กสทช. ฉบับใหม่ ให้ใช้ทั้งวิธีการประมูลและวิธีพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติมาไว้ด้วย ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย

วิธีการประมูล (Auction) จะมีการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมประมูล เช่น ทุนจดทะเบียนบริษัท หลักประกันธนาคาร ผู้ที่จะประกอบกิจการโทรคมนาคม ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นเอกชน หรือรัฐวิสาหกิจอย่างบริษัท กสท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ก็ต้องร่วมประมูลอย่างเสรีและเป็นธรรม

การประมูล (Auction) เป็นการแข่งขัน โดยการยื่นข้อเสนอด้านราคา ผู้ที่ให้ราคาสูงสุดจะเป็นผู้ที่ได้คลื่นความถี่ไปบริหารและประกอบธุรกิจ วิธีนี้ผู้ที่ประมูลได้จะเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพทางการเงินสูง ทำให้รายได้เข้ารัฐจำนวนเงินมากในคราวเดียว แต่ค่าใช้จ่ายในการประมูลจะถูกผลักภาระให้เป็นต้นทุนของผู้ประกอบการ ซึ่งจะเรียกเก็บจากผู้ใช้บริการในรูปแบบของค่าบริการนั่นเอง บางประเทศที่ใช้วิธีการประมูลและไม่ประสบความสำเร็จ ได้แก่ สหราชอาณาจักร เพราะผู้ประกอบการแข่งขันทุ่มเงินในการประมูลมากเกินไปเพื่อให้ชนะการประมูล ทำให้ไม่มีเงินทุนเหลือมากพอในการวางโครงข่าย การวางโครงข่ายทำได้ล่าช้ามาก หลายบริษัทต้องควบรวมกับบริษัทอื่นเพื่อความอยู่รอด บางบริษัทถึงกับปิดกิจการ สร้างปัญหาให้แก่ผู้บริโภค

ส่วนวิธีพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติ (Beauty Contest หรือ Public Tender) เป็นวิธีใหม่กำหนดในร่างพ.ร.บ.กสทช.ฉบับใหม่ องค์กรที่กำกับดูแลจะวางหลักเกณฑ์ในเบื้องต้นเกี่ยวกับการให้บริการโทรคมนาคมไว้ ในประเทศแถบสแกนดิเนเวียหลักเกณฑ์เบื้องต้นจะกำหนดเป็นเอกสารหนาถึงร้อยกว่าหน้า ผู้สนใจประกอบการต่างต้องเสนอวิธีการบริหารจัดการคลื่นความถี่ เช่น อัตราค่าบริการ การครอบคลุมของพื้นที่ให้บริการ วิธีนี้องค์กรที่กำกับดูแลจะคัดเลือกผู้ที่ให้ข้อเสนอที่ดีที่สุดแก่ผู้บริโภคหรือผู้ใช้งานโทรศัพท์มือถือ แม้ว่าวิธีการนี้รัฐจะไม่ได้รับเงินจำนวนมหาศาลในคราวเดียวเหมือนวิธีการประมูล แต่รัฐจะได้รับเงินในรูปแบบอื่นแทน เช่น ภาษีเงินได้นิติบุคคล และค่าธรรมเนียมต่างๆแทน ซึ่งอาจจะไม่มากในคราวเดียว แต่จะเก็บได้เรื่อยๆในระยะยาว เพราะใบอนุญาตจะมีอายุถึง 10-15 ปี รวมแล้วอาจเป็นจำนวนเงินที่ใกล้เคียงกับที่ได้รับจากวิธีการประมูล

วิธีพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติมีข้อดีตรงที่ผู้ประกอบการไม่มีค่าใช้จ่ายในการแข่งขันประมูล ทำให้ไม่ต้องผลักภาระให้แก่ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ใช้บริการ ผู้ประกอบการจะยังมีเงินทุนเหลืออยู่มากที่ใช้ในการวางโครงข่าย ประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จเป็นอย่างสูงด้วยวิธีการนี้ ทำให้วางโครงข่ายครอบคลุมพื้นที่ได้รวดเร็วและอัตราค่าบริการที่ถูก หลายประเทศใช้ประเทศญี่ปุ่นเป็นกรณีศึกษา

ร่างพ.ร.บ.กสทช. ได้เพิ่มวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่ โดยให้ใช้วิธีการพิจารณาเกณฑ์คุณสมบัติซึ่งถือเป็นเรื่องใหม่ ที่จะต้องดำเนินการด้วยความโปร่งใส และยุติธรรมตั้งแต่การกำหนดเกณฑ์คุณสมบัติและต้องทำประชาพิจารณ์ การแต่งตั้งคณะกรรมการจะต้องมาจากบุคคลที่มีประวัติดีไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน เป็นที่ยอมรับเชื่อถือในสังคม ไม่ว่าการจัดคลื่นความถี่ 4G จะทำด้วยวิธีใด สิ่งที่สำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า ผู้บริโภคซึ่งเป็นผู้ใช้บริการจะได้รับประโยชน์สูงสุดอย่างไรบ้าง ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ดี โครงข่ายที่มีคุณภาพ ค่าบริการที่ถูกและเป็นธรรม




http://www.naewna.com/business/147769

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.