Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

04 มีนาคม 2558 (บทความ) ประมูล 4จี ใครได้-ใครเสีย // ขึ้นอยู่กับ กฏหมายใหม่!! หาก CAT TOT ได้คลื่นเก่าก็ไม่สามารถพัฒนารายได้แม้จะได้รับโอนเสาคืน แนะนำคลื่น 2600 คืนมาประมูลดีกว่า!!

ประเด็นหลัก


แต่ตามกม.ใหม่ คลื่นไม่ได้เป็นของ 2 หน่วยงานนี้ เพราะฉะนั้นรัฐต้องมาพิจารณาว่าทำอย่างไรให้คลื่น 900 และ 1800 อยู่ภายใต้การดูแลของ TOT และ CAT ต่อไป ช่วงระยะเวลาหนึ่งตามความเหมาะสม เพราะหากทั้ง 2 องค์กรได้โอนทรัพย์มาดังกล่าวจะไม่มีประโยชน์เลย หากไม่มีคลื่นเก่าของตัวเองตามมาด้วย ตรงข้ามกันจะทำให้เกิดภาระกับหน่วยงานทั้ง 2 ที่จะต้องมาเสียงบประมาณมารักษาอุปกรณ์ทั้งหมด และในที่สุดทั้งTOT และ CAT เองก็อยู่ไม่ได้...จากทั้งหมดนี้ เมื่อนำมาชั่งนำหนักผลดี-ผลเสีย รัฐบาลต้องมาให้ความสำคัญว่า ทำอย่างไรให้การประมูล ครั้งนี้ ได้มาตรฐานเหมือนในต่างประเทศที่นำคลื่น 2600 มาใช้ในการเปิดประมูล 4G และทำให้ 2 หน่วยงานรัฐ หรือ TOT และ CAT สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ไม่ใช่ให้ 2 หน่วยงาน ต้องหายตายจากไปพร้อมกับการประมูล 4G หวังเพียงแค่เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางรายเท่านั้น…nn


_____________________________________________________













หมุนตามทุน : ประมูล 4จี ใครได้-ใครเสีย

nn ตอนนี้ในสังคมกำลังมาให้ความสนใจการประมูล 4จี ถึงขั้นที่หม่อมอุ๋ย ออกมาประกาศยืนยันว่า รัฐจะดำเนินการไปตามแผนเดิมคือภายในเดือนก.ย.นี้ หลังจากที่มีข่าวลือว่ารัฐอาจมีแนวโน้มเลื่อนการประมูลออกไป…นโยบายการประมูล 4G รัฐบาลที่มีหน้าที่ให้ความเป็นธรรมกับทุกภาคส่วน ควรต้องให้ความสำคัญรัฐวิสาหกิจของรัฐทั้ง 2 คือ TOT กับ CAT ที่เป็นเจ้าของสัมปทานคลื่น 900MG และ 1800MG ตามลำดับ แทนที่จะเปิดประมูลให้เฉพาะเอกชนที่ในปัจจุบันมีเพียง 3 ราย ประกอบด้วย AIS, True และ DTAC เท่านั้น เพราะหากรัฐจะออกมาเร่งประมูลตามหม่อมอุ๋ยประกาศออกมาดังกล่าว เท่ากับว่าหม่อมอุ๋ยต้องการเข้าไปช่วยเหลือเอกชนบางรายเท่านั้น โดยเฉพาะเอกชนที่อายุสัมปทานกำลังจะหมดลงภายในเดือนก.ย.นี้...อย่าง AIS ที่สัมปทาน 900MG ภายใต้สัมปทาน TOT และ True ที่คลื่น 1800 ภายใต้สัมปทานที่อายุสัมปทานได้หมดไปแล้วเท่านั้น เท่ากับว่าหากมีการเปิดประมูล 4G จริงตามที่หม่อมอุ๋ยประกาศ โดยเอาคลื่นความถี่เดิมที่หมดอายุทั้ง 900 และ 1800 มาประมูลใหม่นั้น ไม่ได้หวังให้เกิดระบบ 4G จริงเพราะต้องยอมรับว่าปัจจุบัน AIS ที่ปัจจุบันมีสถานะเป็นบริษัทข้ามชาติที่ถือหุ้นใหญ่โดยเทมาเส็กนั้น มีส่วนแบ่งการตลาดโทรศัพท์มือถือ 2G ถึง 60-70% จึงเป็นผู้อยู่เบื้องหลังให้รัฐบาลมาเร่งเอาคลื่น 900 ออกมาเปิดประมูลโดยเร็ว และในฐานะที่เป็นบริษัทที่มีทุนต่างชาติย่อมทุ่มเงินเพื่อให้ได้คลื่น 900 กลับมาเพื่อมาใช้รองรับทำตลาด 2G ต่อไป ไม่ใช่มีเป้าหมายมาทำ 4G จริง …ในขณะเดียวกันหากรัฐมีเป้าหมายที่จะทำให้เกิด 4G ขึ้นในประเทศไทยเพื่อทัดเทียมกับหลายประเทศที่พัฒนาไปกันแล้ว รัฐควรนำคลื่น 2600 ที่มีถึง 120MG ที่ปัจจุบันถือครองโดยอสมท แต่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ และยังเป็นคลื่นที่มีมาตรฐานเหมาะสมมาดำเนินการทำ 4G เหมือนในหลายประเทศทั่วโลก...ในขณะเดียวกันหากใช้แนวทางดังกล่าวข้างต้น รัฐจะต้องมาให้ความสำคัญว่าทำอย่างไรจะให้ TOT และCAT ที่เป็นเจ้าของสัมปทานคลื่น 900 และ 1800 ตามลำดับ สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างไรด้วย เพราะหลังจากหมดอายุสัมปทานทั้ง 2 ระบบลง เอกชนทั้ง 2 คือ AIS และ True ที่อายุสัมปทานหมดไปก่อนและของ DTAC ที่สัมปทานจะหมดอายุตามมาอีก 3 ปีข้างหน้า ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องมืออุปกรณ์โดยเฉพาะเสาสถานีฐานจะต้องตกไปเป็นสมบัติของ TOT และ CAT …แต่ตามกม.ใหม่ คลื่นไม่ได้เป็นของ 2 หน่วยงานนี้ เพราะฉะนั้นรัฐต้องมาพิจารณาว่าทำอย่างไรให้คลื่น 900 และ 1800 อยู่ภายใต้การดูแลของ TOT และ CAT ต่อไป ช่วงระยะเวลาหนึ่งตามความเหมาะสม เพราะหากทั้ง 2 องค์กรได้โอนทรัพย์มาดังกล่าวจะไม่มีประโยชน์เลย หากไม่มีคลื่นเก่าของตัวเองตามมาด้วย ตรงข้ามกันจะทำให้เกิดภาระกับหน่วยงานทั้ง 2 ที่จะต้องมาเสียงบประมาณมารักษาอุปกรณ์ทั้งหมด และในที่สุดทั้งTOT และ CAT เองก็อยู่ไม่ได้...จากทั้งหมดนี้ เมื่อนำมาชั่งนำหนักผลดี-ผลเสีย รัฐบาลต้องมาให้ความสำคัญว่า ทำอย่างไรให้การประมูล ครั้งนี้ ได้มาตรฐานเหมือนในต่างประเทศที่นำคลื่น 2600 มาใช้ในการเปิดประมูล 4G และทำให้ 2 หน่วยงานรัฐ หรือ TOT และ CAT สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ไม่ใช่ให้ 2 หน่วยงาน ต้องหายตายจากไปพร้อมกับการประมูล 4G หวังเพียงแค่เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชนบางรายเท่านั้น…nn

อนันตเดช พงษ์พันธุ์



http://www.naewna.com/business/147436

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.