Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

02 มีนาคม 2558 Acentech.กำพล ระบุ ธุรกิจของบริษัทมี 3 ส่วน ได้แก่ 1.นำเข้าอุปกรณ์ RFID เพื่อจำหน่ายทั่วประเทศ 2.คิดนวัตกรรม RFID รองรับธุรกิจทั้งระบบติดตั้งแบบมาตรฐาน และระบบเช่า และ 3.งานที่ปรึกษาวิจัยและพัฒนาออกแบบระบบ RFID ให้ลูกค้าที่ต้องการใช้แบบเฉพาะเจาะจง

ประเด็นหลัก



นายกำพล โชคสุนทสุทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท เอเซนเทค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการนำเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ RFID (Radio Frequency Identification)มาใช้ในเชิงธุรกิจมากขึ้น เช่น ใช้นับสต๊อกสินค้าแบบเรียลไทม์ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทั้งสินค้าสูญหาย และเช็กจำนวนสินค้าคงเหลือในคลังสินค้า เป็นต้น ธุรกิจของบริษัทมี 3 ส่วน ได้แก่ 1.นำเข้าอุปกรณ์ RFID เพื่อจำหน่ายทั่วประเทศ 2.คิดนวัตกรรม RFID รองรับธุรกิจทั้งระบบติดตั้งแบบมาตรฐาน และระบบเช่า และ 3.งานที่ปรึกษาวิจัยและพัฒนาออกแบบระบบ RFID ให้ลูกค้าที่ต้องการใช้แบบเฉพาะเจาะจง


"5 ปีที่ผ่านมา รายได้บริษัทเติบโตเฉลี่ย 15-20% ปีนี้ตลาดรวม RFID จะโตขึ้น 25% ซึ่งบริษัทตั้งเป้าโตไว้ 20-25% เช่นกัน เพิ่มจากปีที่แล้วที่โต 15% ปีนี้จะเน้นขยายฐานลูกค้ากลุ่มโลจิสติกส์ และเอสเอ็มอีเป็นหลัก ซึ่งตลาดในไทยโตมาก มียอดขายสูงสุดในอาเซียน ปีนี้จะรุกไปลาว, กัมพูชา, พม่า และเวียดนาม เพิ่มขึ้น สร้างทีมที่สามารถให้คำปรึกษาได้ นอกเหนือจากการเพิ่มโซลูชั่นใหม่ ๆ"

ในอนาคตการใช้ RFID จะมีมากขึ้น แต่การประยุกต์ใช้จะเปลี่ยนไป มีการนำเทคโนโลยีไปผนวกกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อตอบรับยุคอินเทอร์เน็ตออฟติงก์ ซึ่งบริษัทเน้นการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ๆ ล่าสุดพัฒนา "โดรน" ในการใช้ตรวจสต๊อกสินค้าในคลังสินค้า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


_____________________________________________________


















เอเซนเทคชูRFIDบุกโลจิสติกส์ รุกอาเซียนตั้งเป้าโกย100ล้าน



"เอเซนเทค" เร่งพัฒนาโซลูชั่น RFID ตอบโจทย์ธุรกิจ-ขยายฐานลูกค้าจับกลุ่ม"โลจิสติกส์ และเอสเอ็มอี" พร้อมเปิดเกมรุกตลาดอาเซียน ตั้งเป้าโกยรายได้ทะลุ 100 ล้านบาท

นายกำพล โชคสุนทสุทธิ์ ประธานกรรมการ บริษัท เอเซนเทค (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา มีการนำเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุ RFID (Radio Frequency Identification)มาใช้ในเชิงธุรกิจมากขึ้น เช่น ใช้นับสต๊อกสินค้าแบบเรียลไทม์ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นทั้งสินค้าสูญหาย และเช็กจำนวนสินค้าคงเหลือในคลังสินค้า เป็นต้น ธุรกิจของบริษัทมี 3 ส่วน ได้แก่ 1.นำเข้าอุปกรณ์ RFID เพื่อจำหน่ายทั่วประเทศ 2.คิดนวัตกรรม RFID รองรับธุรกิจทั้งระบบติดตั้งแบบมาตรฐาน และระบบเช่า และ 3.งานที่ปรึกษาวิจัยและพัฒนาออกแบบระบบ RFID ให้ลูกค้าที่ต้องการใช้แบบเฉพาะเจาะจง


      นายกำพล โชคสุนทสุทธิ์


"5 ปีที่ผ่านมา รายได้บริษัทเติบโตเฉลี่ย 15-20% ปีนี้ตลาดรวม RFID จะโตขึ้น 25% ซึ่งบริษัทตั้งเป้าโตไว้ 20-25% เช่นกัน เพิ่มจากปีที่แล้วที่โต 15% ปีนี้จะเน้นขยายฐานลูกค้ากลุ่มโลจิสติกส์ และเอสเอ็มอีเป็นหลัก ซึ่งตลาดในไทยโตมาก มียอดขายสูงสุดในอาเซียน ปีนี้จะรุกไปลาว, กัมพูชา, พม่า และเวียดนาม เพิ่มขึ้น สร้างทีมที่สามารถให้คำปรึกษาได้ นอกเหนือจากการเพิ่มโซลูชั่นใหม่ ๆ"

ในอนาคตการใช้ RFID จะมีมากขึ้น แต่การประยุกต์ใช้จะเปลี่ยนไป มีการนำเทคโนโลยีไปผนวกกับอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อตอบรับยุคอินเทอร์เน็ตออฟติงก์ ซึ่งบริษัทเน้นการพัฒนาต่อยอดนวัตกรรมใหม่ ๆ ล่าสุดพัฒนา "โดรน" ในการใช้ตรวจสต๊อกสินค้าในคลังสินค้า ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

สำหรับการแข่งขันจะมากขึ้นทั้งในประเทศและตลาดต่างประเทศซึ่งปัจจุบันมูลค่าตลาดรวมระบบระบุตัวตนด้วยคลื่นวิทยุRFID ในประเทศมีมูลค่ารวมกว่า 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.กลุ่ม RFID ประเภทบัตรเติมเงินครองตลาด 50% เช่น บัตรรถไฟฟ้า 2.กลุ่ม RFID ระยะใกล้ มีส่วนแบ่ง 25% เช่น บัตรอีซีพาส และ 3.กลุ่ม RFID ระยะไกล พร้อมโซลูชั่น 25% ธุรกิจของบริษัทอยู่ในกลุ่ม 3 เป็นหลัก มีมูลค่าตลาดประมาณ 100 ล้านบาท มีส่วนแบ่ง 75% แต่ถ้ารวมโซลูชั่นจะมีมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท ซึ่งบริษัทให้พาร์ตเนอร์ทำตลาดแทน ปัจจุบันมีพาร์ตเนอร์กว่า 30 ราย

"ปีนี้เราจะเปิดบริษัทย่อยอีก 3 แห่ง ดูแลด้านการออกแบบแท็ก และจ้างผลิต เป็นตัวแทนจำหน่าย และจัดทำโซลูชั่น ตั้งเป้ารายได้ปีนี้ไว้เกือบ 100 ล้านบาท จากลูกค้าภาครัฐ 30% เอกชน 70% ทั้งกลุ่มโลจิสติกส์, ซีเคียวริตี้, ฟิตเนส, รีเทล และเอสเอ็มอี เช่น เบทาโกร, แบงก์กรุงไทย, กรมทรัพย์สินทางปัญญา, การไฟฟ้านครหลวง เป็นต้น"




ติดตามข่าวสาร ผ่านแฟนเพจเฟซบุ๊ค ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
www.facebook.com/PrachachatOnline
ทวิตเตอร์ @prachachat




http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1424926031

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.