Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กุมภาพันธ์ 2558 มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (คอบช.) ร้อง คสช. สปช. กสทช. และ AIS DTAC TRUE เสนอใช้แพกเกจเดิมแบบนาทีที่มีอยู่ต่อไป เพียงแต่ว่าให้คิดตามจริงเป็นวินาที

ประเด็นหลัก

       ดังนั้น คอบช. จึงขอเสนอข้อเรียกร้อง 4 ข้อ ไปยังผู้กำกับดูแล หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส,บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรูมูฟ เอช
     
       ได้แก่ 1. ขอให้มีการยกเลิกโปร.วินาทีทั้งหมด เนื่องมาจากสร้างความสับสนให้แก่ผู้บริโภค และไม่ได้มีการคิดเป็นวินาทีจริงๆ ราคาแพงขึ้น จึงมีข้อเสนอที่ง่ายกว่านั้นคือ ใช้แพกเกจเดิมแบบนาทีที่มีอยู่ต่อไป เพียงแต่ว่าให้คิดตามจริงเป็นวินาที
     
       2.การนำเสนอข้อมูลทั้งหลายจากค่ายมือถือ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะ ช่วยในการทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนง่ายขึ้น และทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย 3.เรียกร้องให้กสทช.ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ หรือมาตรการป้องกันจากระเบียบของผู้บริโภคในการบังคับให้ค่ายมือถือทุกค่าย คิดค่าโทร.เป็นวินาทีเท่านั้น และไม่มีการคิดค่าโทร.ด้วยวิธีอื่นใดทั้งสิ้น
     
       และสุดท้าย 4. ขอเรียกร้องลูกค้าทั้งหลายที่เป็นผู้บริโภค ที่พิจารณาและใคร่ครวญว่าต้องการใช้โปรโมชันวินาทีที่ออกมาจริงๆหรือไม่ ถ้าคิดอย่างไรให้สื่อสารไปยังผู้ให้บริการ เพื่อเรียกร้องโปรโมชันที่ยุติธรรมต่อผู้ใช้งานจริงๆ เพราะคาดว่าผู้ให้บริการจะมีการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วขึ้น



_____________________________________________________














เตือนอย่าสมัครโปร.วินาทีใหม่ 3 ค่ายมือถือ ชี้แพงขึ้น-ลดสิทธิ

        ผู้บริโภคเตือนประชาชนอย่าเพิ่มสมัครโปรโมชันวินาทีใหม่ของ 3 ค่ายมือถือ แฉพยายามทำให้เข้าใจว่าโทร.ได้มาก ทั้งที่จ่ายแพงกว่าโปรฯเหมาจ่ายตามเดิม ระบุ AIS แพงขึ้น 65.3% ขณะที่ดีแทค-ทรูค่าบริการสูงกว่าที่ กสทช.กำหนด แถมลดสิทธิประโยชน์ลง หวั่นค่ายมือถือ กสทช.รวมหัว ฉวยโอกาสผู้บริโภครู้ทัน ไม่ตอบรับโปรฯใหม่ บิดเบือนไม่ต้องการค่าโทร.วินาที

เตือนอย่าสมัครโปร.วินาทีใหม่ 3 ค่ายมือถือ ชี้แพงขึ้น-ลดสิทธิ

        วันนี้ (25 ก.พ.) ที่มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) ผศ.รุจน์ โกมลบุตร ประธานอนุกรรมการด้านสื่อและโทรคมนาคม คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) แถลงข่าว "รู้ยัง! ผู้บริโภคไม่โง่ ดูโปรแล้วไม่อยากเปลี่ยน" ว่า จากการที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายใหญ่ ทั้ง AIS DTAC และ TRUE MOVE เสนอแพคเกจคิดค่าโทร.เป็นวินาทีนั้น คอบช.เห็นว่ามีอัตราค่าบริการไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค เนื่องจากต้องจ่ายราคาแพงขึ้น แต่สิทธิประโยชน์ลดลง เมื่อเทียบกับแพคเกจเดิมที่ไม่คิดค่าโทรเป็นวินาที คอบช.จึงขอปฏิเสธโปรโมชันใหม่ และไม่ยอมรับว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้องในการตอบสนองต่อมติสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)
     
       “ส่วนของผู้บริโภคเสนอว่า ไม่ควรสมัครโปรวินาทีที่ออกมาในตอนนี้ เนื่องจากมีราคาไม่เป็นธรรม และไม่ได้ตอบสนองเรื่องการไม่ปัดเศษเป็นวินาทีอย่างแท้จริง และขอให้ผู้บริโภคช่วยกันสื่อสารไปยังค่ายมือถือ เพื่อเรียกร้องให้ค่ายมือถือคิดค่าบริการเป็นวินาทีตามจริง มากกว่าการออกโปรโมชันที่สับสนและมีราคาไม่เป็นธรรม” ผศ.รุจน์ กล่าว
     
       ด้าน น.ส.ชลดา บุญเกษม อนุกรรมการด้านสื่อฯ คอบช. กล่าวว่า อย่างค่าย AIS มี 8 แพคเกจ มีเพียงแพคเกจเดียวที่คิดค่าโทร.เป็นวินาทีคือ isecond 345 บาท โทร.ได้ 4,800 วินาทีต่อเดือน หรือ 80 นาทีต่อเดือน เมื่อเทียบกับแพคเกจเหมาจ่ายตามเดิมคือ ismart 399 บาท โทรได้ 150 นาทีต่อเดือน จะพบว่า แพงขึ้นถึง 65.3% แต่พยายามแสดงตัวเลขให้เข้าใจว่าโทร.ได้มาก ส่วนดีแทค ออกโปรโมชันวินาที 2 แพคเกจ และทรูออกเพียง 1 แพคเกจ ซึ่งเป็นโปรที่ไม่ปัดเศษ แต่เมื่อคำนวณเป็นนาที พบว่า ค่าบริการสูงกว่าที่ กสทช. กำหนดไว้ เช่น กำหนดคิดเป็น 1.67 สตางค์ต่อวินาที เมื่อโทรครบ 60 วินาทีหรือ 1 นาที เป็นเงินทั้งสิ้น 1.2 บาทต่อนาที ซึ่งเกินกว่าที่ กสทช. กำหนดไว้ที่ 99 สตางค์ต่อนาที
     
       ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการทั่วไป คอบช. กล่าวว่า การคิดแบบปัดเศษวินาทีเป็นการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภค และค้ากำไรเกินควร จึงเสนอให้ กสทช.ใช้มาตรการป้องกันการเอาเปรียบผู้บริโภค ห้ามผู้ประกอบการคิดค่าบริการในส่วนที่ผู้บริโภคไม่ได้มีการใช้งานจริง ทั้งค่าโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต โดย กสทช. ควรรวมเรื่องการคิดค่าโทรศัพท์เป็นวินาทีเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาในประกาศ ‘การกระทำที่น่าจะเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม โดยการอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณา อันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควร หรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ พ.ศ. ...
     
       นางมณี จิรโชติมงคลกุล เครือข่ายผู้บริโภค กทม. กล่าวว่า เรียกร้องให้ค่ายมือถือทุกราย และ กสทช. ให้ข้อมูลผู้บริโภคอย่างถูกต้อง ไม่ทำให้ผู้บริโภคเกิดความสับสน หลอกลวงผู้บริโภคด้วยวิธีการอันซับซ้อน ซึ่งไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ สปช. อย่างโปรโมชันใหม่ที่ 3 ค่ายมือถือเปิดตัวชัดเจนว่า เป็นการเสนอทางเลือกที่ไม่น่าเลือก เพราะมีอัตราค่าบริการที่แพงกว่าโปรโมชันเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาด และมีลักษณะลดสิทธิประโยชน์ผู้บริโภค บางค่ายยังแฝงการปัดเศษเข้ามาด้วย ซึ่งหากดูผิวเผินเหมือนให้สิทธิประโยชน์ที่คุ้มค่าและเป็นธรรม แต่จริงๆ ไม่ใช่ ทั้งนี้ คาดว่าเมื่อผู้บริโภคไม่ให้การตอบรับโปรใหม่ ผู้ให้บริการและ กสทช.จะใช้สถานการณ์นี้อ้างว่า ผู้บริโภคไม่ต้องการระบบคิดค่าโทร.เป็นวินาที ทั้งที่ความจริงเป็นการพยายามบิดเบือนและตีความอย่างศรีธนญชัย
     
       ติดตาม Facebook Fanpage ของ “Quality of Life” ได้ที่
     
     

http://manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9580000022974


________________________


องค์กรคุ้มครองผู้บริโภคยื่น 4 ข้อเสนอคิดค่าโทร.เป็นวินาทีตามจริง



        เผย 4 ข้อเรียกร้องคณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) ต่อกสทช. และโอเปอเรเตอร์ กรณีคิดค่าโทร.เป็นวินาที จี้ยกเลิกโปรใหม่ แต่ให้ใช้แพกเกจเดิมคิดเป็นวินาทีทั้งระบบ และให้นำเสนอข้อมูลที่เข้าใจง่าย บีบกสทช.ให้ใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด และให้ผู้บริโภครวมตัวกันสื่อสารไปยังผู้ให้บริการ
     
       นายรุจน์ โกมลบุตร ประธานอนุกรรมการฯ ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม คณะกรรมการองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคภาคประชาชน (คอบช.) กล่าวถึงกรณีที่ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้ง 3 ราย ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค และทรูมูฟ เอช ออกแพกเกจทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค ที่คิดค่าโทร.เป็นวินาทีว่า ไม่ตอบสนองกับข้อเสนอของ สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ที่ไม่ต้องการให้โอเปอเรเตอร์เอาเปรียบผู้บริโภค
     
       'โปรโมชันค่าโทร.เป็นวินาทีที่ออกมาจากผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย มีอัตราค่าบริการที่ไม่เป็นธรรมกับผู้บริโภค เพราะเมื่อคิดเฉลี่ยแล้วจะมีราคาค่าบริการแพงขึ้น แต่สิทธิประโยชน์ลดลง ตั้งแต่ 15-65% ขึ้นอยู่กับโปรโมชัน'
     
       ดังนั้น คอบช. จึงขอเสนอข้อเรียกร้อง 4 ข้อ ไปยังผู้กำกับดูแล หรือ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) และผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทั้ง 3 ราย คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส,บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค และ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ทรูมูฟ เอช
     
       ได้แก่ 1. ขอให้มีการยกเลิกโปร.วินาทีทั้งหมด เนื่องมาจากสร้างความสับสนให้แก่ผู้บริโภค และไม่ได้มีการคิดเป็นวินาทีจริงๆ ราคาแพงขึ้น จึงมีข้อเสนอที่ง่ายกว่านั้นคือ ใช้แพกเกจเดิมแบบนาทีที่มีอยู่ต่อไป เพียงแต่ว่าให้คิดตามจริงเป็นวินาที
     
       2.การนำเสนอข้อมูลทั้งหลายจากค่ายมือถือ และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะ ช่วยในการทำให้การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของประชาชนง่ายขึ้น และทำให้ผู้บริโภคเข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วย 3.เรียกร้องให้กสทช.ใช้เครื่องมือที่มีอยู่ หรือมาตรการป้องกันจากระเบียบของผู้บริโภคในการบังคับให้ค่ายมือถือทุกค่าย คิดค่าโทร.เป็นวินาทีเท่านั้น และไม่มีการคิดค่าโทร.ด้วยวิธีอื่นใดทั้งสิ้น
     
       และสุดท้าย 4. ขอเรียกร้องลูกค้าทั้งหลายที่เป็นผู้บริโภค ที่พิจารณาและใคร่ครวญว่าต้องการใช้โปรโมชันวินาทีที่ออกมาจริงๆหรือไม่ ถ้าคิดอย่างไรให้สื่อสารไปยังผู้ให้บริการ เพื่อเรียกร้องโปรโมชันที่ยุติธรรมต่อผู้ใช้งานจริงๆ เพราะคาดว่าผู้ให้บริการจะมีการเปลี่ยนแปลงได้รวดเร็วขึ้น
     
       นางสาวชลดา บุญเกษม อนุกรรมการฯ ด้านสื่อสารและโทรคมนาคม คอบช. ยกตัวอย่างแพกเกจอย่างแพกเกจisecond 345 บาท ที่สามารถโทร.ได้ 4,800 วินาทีต่อเดือน หรือ 80 นาที กับ แพกเกจเดิมismart 399 บาท โทร.ได้ถึง 150 นาทีต่อเดือน หากเปรียบเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์แล้ว แพงขึ้นถึง 65.3 %
     
       'บางโปรโมชันของทรูที่ไม่มีการปัดเศษแต่คิดเป็นวินาที เมื่อคิดรวม 60 วินาที เป็นเงินทั้งสิ้น 1.2 บาท เกินกว่าที่กสทช.กำหนดไว้ 99 สตางค์ต่อนาที แต่ทั้งนี้ทางกสทช.ยังให้โอกาสในการปรับแก้ไขโปรโมชันถึงวันที่ 1 มีนาคม ทางคอบช.ก็จะติดตามตรวจสอบต่อไป'
     
       นอกจากนี้ ยังมองว่า การตั้งโปรใหม่ขึ้นมา ถือเป็นการหลอกชาวบ้านเหมือนดูว่าถูกกว่าเป็นวินาที แต่พอรวมเป็นนาทีแล้วแพงกว่าที่คิดเดิม สุดท้ายเมื่อผู้บริโภคไม่เลือกใช้ ก็จะเป็นข้ออ้างจากผู้ให้บริการได้ว่าผู้บริโภคไม่เลือกใช้งานเอง
     
       นายไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการผู้เชี่ยวชาญด้านสินค้าและบริการทั่วไป คอบช. ให้ข้อมูลว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์ในการเอาเปรียบผู้บริโภค หรือหากจะย้อนไปตั้งแต่การประมูล 3G ให้ลดค่าบริการเฉลี่ย 15% แต่ก็มีเพียงผู้บริโภคบางส่วนเท่านั้นที่ได้ลดค่าบริการจริง
     
       'การคิดค่าโทร.แบบวินาทีที่ออกมา เหมือนเป็นการฉ้อโกงที่รัฐให้การสนับสนุน เพราะสิ่งที่กสทช.ทำให้เกิดออกมาคือการคิดโปรโมชันใหม่ ไม่ใช่การทำให้ระบบเดิมคิดตามจริงเป็นวินาที ดังนั้นทางคุ้มครองผู้บริโภคจึงเชื่อว่าต้องช่วยกันเรียกร้องให้เกิดขึ้นให้ได้'
     

http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000023001

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.