Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

25 กุมภาพันธ์ 2558 เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค.สารี ระบุ จากการประเมินเบื้องต้น คนไทยใช้ระบบเติมเงินเฉลี่ย 341 บาทต่อเดือน ส่วนแบบรายเดือนตกอยู่คนละ 716 บาท

ประเด็นหลัก



    ผลที่เกิดขึ้นปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ร้องเรียนไปยังมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค และในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีถูกผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เก็บค่าบริการเกินจริง
    นั่นจึงเป็นที่มาที่นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผลักดันเรื่องนี้เข้าไปยังที่ประชุมสปช.
    เรื่องค่าบริการรายเดือน และค่าโทร.มือถือนั้น ใครๆ ก็รู้ดีว่า หากมีใครหยิบประเด็นเรื่องค่าโทรศัพท์ขึ้นมา จะได้รับการสนับสนุนเนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 94 ล้านเลขหมาย
    อีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ หลังจากประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ออกมาเปิดเผยว่า ตัวเลขรายได้ของบรรดาค่ายมือถือทั้ง 3 ราย โดยเฉพาะปี 2556 ดีแทค มีรายได้ 9.4 หมื่นล้านบาท ส่วนกลุ่มทรู มีรายได้ประมาณ 9.6 หมื่นล้านบาท และเอไอเอส มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดนั้นมีบางส่วนได้มาจากการคิดปัดเศษวินาทีนั่นเอง
    "จากการประเมินเบื้องต้น คนไทยใช้ระบบเติมเงินเฉลี่ย 341 บาทต่อเดือน ส่วนแบบรายเดือนตกอยู่คนละ 716 บาท เอา 2 ระบบมาถัวเฉลี่ยกันจะได้ประมาณเดือนละ 415 บาทต่อเดือน จะเห็นว่าหากคิดเงินแบบปัดเศษการโทรวินาทีเป็นนาที คิดแบบต่ำสุด ถ้าวันละ 1 นาที ตกนาทีละ 1.33 บาท เดือนหนึ่งต้องจ่ายส่วนเกินนี้อย่างต่ำสุด 40 บาทต่อคน ทั้งหมด 94 ล้านเลขหมาย หมายถึงต้องเสียเงินไปแบบไม่ยุติธรรมเดือนละ 3,591 ล้านบาท หรือปีละ 43,092 ล้านบาท ถ้าต่อไปนี้คิดเป็นวินาที พวกเราจะไม่ต้องเสียเงินส่วนนี้อีกต่อไป"

_____________________________________________________














3ค่ายโอเปอเรเตอร์ กดปุ่มโทร.แบบวินาที

 ในที่สุด 3 ค่ายมือถือ ไล่เรียงตั้งแต่ เอไอเอส หรือบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน), ดีแทค หรือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ทรูมูฟ จำกัด  กดปุ่มค่าโทร.เป็นแบบวินาที
alt    หลังจากคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ของ สปช. (สภาปฏิรูปแห่งชาติ) ลงมติขอให้กสทช.สั่งผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมคิดค่าใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงตามจริงเป็นวินาที ปรากฏว่าที่ประชุมสปช. เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2558 มีสมาชิกเข้าร่วมประชุม 221 ราย จากทั้งหมด 250 ราย มีผู้ลงมติเห็นด้วย 211 เสียง ไม่เห็นด้วย 3 เสียง งดออกเสียง 7 ราย
++ "สารี" ออกแรงดัน
    ผลที่เกิดขึ้นปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นเพราะผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ร้องเรียนไปยังมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีนางสาวสารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค และในฐานะประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค กรณีถูกผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่เก็บค่าบริการเกินจริง
    นั่นจึงเป็นที่มาที่นางสาวสารี อ๋องสมหวัง ผลักดันเรื่องนี้เข้าไปยังที่ประชุมสปช.
    เรื่องค่าบริการรายเดือน และค่าโทร.มือถือนั้น ใครๆ ก็รู้ดีว่า หากมีใครหยิบประเด็นเรื่องค่าโทรศัพท์ขึ้นมา จะได้รับการสนับสนุนเนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้บริการทั้งสิ้น 94 ล้านเลขหมาย
    อีกข้อมูลหนึ่งที่น่าสนใจ หลังจากประธานคณะกรรมาธิการปฏิรูปการคุ้มครองผู้บริโภค ออกมาเปิดเผยว่า ตัวเลขรายได้ของบรรดาค่ายมือถือทั้ง 3 ราย โดยเฉพาะปี 2556 ดีแทค มีรายได้ 9.4 หมื่นล้านบาท ส่วนกลุ่มทรู มีรายได้ประมาณ 9.6 หมื่นล้านบาท และเอไอเอส มีรายได้ไม่ต่ำกว่า 1.4 แสนล้านบาท ซึ่งรายได้ทั้งหมดนั้นมีบางส่วนได้มาจากการคิดปัดเศษวินาทีนั่นเอง
    "จากการประเมินเบื้องต้น คนไทยใช้ระบบเติมเงินเฉลี่ย 341 บาทต่อเดือน ส่วนแบบรายเดือนตกอยู่คนละ 716 บาท เอา 2 ระบบมาถัวเฉลี่ยกันจะได้ประมาณเดือนละ 415 บาทต่อเดือน จะเห็นว่าหากคิดเงินแบบปัดเศษการโทรวินาทีเป็นนาที คิดแบบต่ำสุด ถ้าวันละ 1 นาที ตกนาทีละ 1.33 บาท เดือนหนึ่งต้องจ่ายส่วนเกินนี้อย่างต่ำสุด 40 บาทต่อคน ทั้งหมด 94 ล้านเลขหมาย หมายถึงต้องเสียเงินไปแบบไม่ยุติธรรมเดือนละ 3,591 ล้านบาท หรือปีละ 43,092 ล้านบาท ถ้าต่อไปนี้คิดเป็นวินาที พวกเราจะไม่ต้องเสียเงินส่วนนี้อีกต่อไป"
++ 3 ค่ายกดปุ่ม  
    ส่วนความเคลื่อนไหวค่ายโอเปอเรเตอร์ หลังสปช.มีมติอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 6 มกราคมที่ผ่านมา พร้อมกับมอบหมายให้กับ กสทช.ไปดำเนินการและประกาศใช้ในวันที่ 1 มีนาคม 2558 ล่าสุดนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการกสทช. ออกมาเปิดเผยเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธุ์ 2558 ว่า  ขณะนี้มี 2 ค่ายมือถือ คือ เอไอเอส และทรู เตรียมประกาศใช้ค่าโทร.เป็นแบบวินาที ส่วนดีแทคยังไม่ได้แจ้งความจำนงกลับมา (ดูตารางประกอบ)
    หากแต่คล้อยหลังได้เพียง 1 วัน  ดีแทคก็ออกมายืนยันกับกสทช. คิดค่าโทร.เป็นวินาทีเช่นเดียวกัน พร้อมกับชี้แจงว่าดีแทคพร้อมออกแพ็กเกจคิดค่าโทรตามจริง สำหรับลูกค้าจดทะเบียน และลูกค้าเติมเงิน เพื่อให้ลูกค้าได้เลือกตามความเหมาะสมกับพฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า นอกเหนือจากโปรโมชันตามปกติที่ลูกค้าใช้อยู่
    ขณะที่นายฐิติพงศ์ เขียวไพศาล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการอาวุโส สายงานการตลาดและการขาย บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) หรือ เอไอเอส กล่าวว่า เอไอเอสออก 8 โปรโมชันใหม่ คิดค่าโทรเป็นวินาทีในครั้งนี้ เนื่องจากเราต้องการเพิ่มทางเลือกที่หลากหลายให้แก่ผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น โดย "โปร วิวิ" และ "โปร iSecond"
    เช่นเดียวกับ  ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ ธุรกิจโมบายล์ และหัวหน้าสายงานการพาณิชย์ และพัฒนาธุรกิจโมบายล์  บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า  ทรูมูฟ เอช ผู้ให้บริการ 3G (บนย่านความถี่ 850 และ 2100 เมกะเฮิรตซ์)  เปิดตัว "โปรคุ้มทุกวิ" สำหรับลูกค้าแบบเติมเงิน โทรทุกเครือข่ายนาทีละ 1 บาท คิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาทีตั้งแต่วินาทีแรก ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
    ส่วนทางด้านนายซิกวาร์ท โวส เอริคเซน รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มการตลาด บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ ดีแทค เปิดเผยว่า ได้ออกแพ็กเกจใหม่ค่าโทรตามจริงเป็นวินาที ให้ลูกค้าแฮปปี้ หรือระบบเติมเงิน "โปรแฮปปี้ทุกวินาที" โทรทุกเครือข่าย เป็นวินาทีต่อวินาที เริ่มตั้งแต่วินาทีแรกเพียง 1.5 สตางค์ หรือคิดเป็นนาทีละ 90 สตางค์เท่านั้น สำหรับลูกค้าระบบรายเดือนจะมีแพ็กเกจคิดค่าโทรตามจริงเป็นวินาที "Second of Love-Voice" สำหรับแพ็กเกจเหมาจ่ายค่า 399 บาทขึ้นไป ในอัตราเริ่มต้น 1.5 สตางค์ต่อวินาที ซึ่งจะเริ่มใช้ได้ในวันที่ 25 กุมภาพันธ์ นี้
    และทั้งหมดนี้คือแคมเปญค่าโทร.แบบวินาที  ซึ่ง 3 ค่ายมือถือ กดปุ่มตามนโยบายของกสทช. ที่ถูกแรงบีบจากสปช.
    แคมเปญถูกใจหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้บริโภคตัดสินใจ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 35 ฉบับที่ 3,029  วันที่  22 - 25  กุมถาพันธ์  พ.ศ. 2558

http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=266110:3-&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VO1QkkJAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.