Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 กุมภาพันธ์ 2558 (บทความ) เปิดใจ'สุรางค์คณา'มือผลักดันพ.ร.บ.ไซเบอร์ // สพธอ. ถูกวางบทบาทให้รับผิดชอบงานด้าน "Soft Infrastructure" ซึ่งต้องวางมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และด้านกฎหมาย

ประเด็นหลัก


++ทำไม สพธอ. ถูกมอบหมาย
    สพธอ.  ถูกวางบทบาทให้รับผิดชอบงานด้าน "Soft Infrastructure" ซึ่งต้องวางมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และด้านกฎหมาย ดังนั้น สพธอ. จึงได้ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ขึ้นมา เมื่อมีหลายฝ่ายคัดค้านและไม่เห็นด้วย ขณะนี้ สพธอ. อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนแก้ไขโดยเฉพาะที่หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกรณีการให้อำนาจเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ตรวจสอบได้ในทันที
    ขณะนี้ สพธอ. เตรียมปรับปรุงแก้ไขมาตรา 35 โดยใช้เกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญาโดยกรณีที่จะมีการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องขออนุมัติจากศาลอย่างเป็นทางการก่อนถึงจะมีสิทธิ์ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลได้
    การคัดค้านถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ดี และ ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อช่วยแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ซึ่ง สพธอ. ก็เห็นด้วย  และ ยอมรับว่าการร่างกฎหมายเร่งรีบดำเนินการ เมื่อมีการท้วงติง สพธอ. ต้องปรับปรุงแก้ไข"
++ขั้นตอนขณะนี้
    ร่าง กฎหมายจำนวน 10 ฉบับ กระบวนการอยู่ในชั้นการตรวจสอบจากกฤษฎีกา ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบแล้ว จะมีการนำเสนอต่อ ครม. (คณะรัฐมนตรี) และ ขั้นตอนสุดท้ายผ่านขั้นตอนการตรวจสอบจาก สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) แต่ก่อนจะถึงสภาน่าจะมีการประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
ในเร็ว ๆ นี้  เชื่อว่าจะมีกฎหมาย 3 ฉบับแรกได้รับการพิจารณาจาก ครม. เนื่องจากกฎหมาย 3 ฉบับแรกไม่ซ้ำซ้อนมากนัก ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ.... เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่จะเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงไอซีที , ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.... และ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ....
++สิ้นปีจะเห็นผลหรือไม่


_____________________________________________________

















เปิดใจ'สุรางค์คณา'มือผลักดันพ.ร.บ.ไซเบอร์



 ยังเป็นประเด็นถกเถียง เกี่ยวกับการจัดตั้งกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม โดยเฉพาะเรื่อง พ.ร.บ. ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ รวมไปถึงการนำคลื่นความถี่ทางด้านกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และ กิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ มาบริหารจัดการแทนองค์กรอิสระอย่าง กสทช. (คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ)
    สุรางคณา วายุภาพสุรางคณา วายุภาพมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะ ทีดีอาร์ไอ หรือ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย รวมไปถึง 4 องค์กรประชาสังคม ได้แก่ มูลนิธิเพื่ออินเทอร์เน็ตและวัฒนธรรมพลเมือง สถาบันพัฒนาสื่อภาคประชาชน มูลนิธิโลกสีเขียว และ สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย
    อย่างไรก็ตาม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปักธงขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิตอล อีโคโนมี ซึ่งมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ รับผิดชอบ
    แต่ทว่าในส่วนของ ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ซึ่งถูกตั้งคำถามว่าให้อำนาจเจ้าหน้าที่มากจนเกินไปนั้น ทั้งนี้ "ฐานเศรษฐกิจ" ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) สพธอ. หรือ EDTA  ในฐานะหัวหน้าคณะทำงาน พ.ร.บ. ว่าด้วยความปลอดภัยทางไซบอร์
ติดตามอ่านได้จากบรรทัดจากนี้
++ทำไม สพธอ. ถูกมอบหมาย
    สพธอ.  ถูกวางบทบาทให้รับผิดชอบงานด้าน "Soft Infrastructure" ซึ่งต้องวางมาตรฐานความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์และด้านกฎหมาย ดังนั้น สพธอ. จึงได้ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ขึ้นมา เมื่อมีหลายฝ่ายคัดค้านและไม่เห็นด้วย ขณะนี้ สพธอ. อยู่ระหว่างการปรับเปลี่ยนแก้ไขโดยเฉพาะที่หลายฝ่ายไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับกรณีการให้อำนาจเจ้าหน้าที่มีสิทธิ์ตรวจสอบได้ในทันที
    ขณะนี้ สพธอ. เตรียมปรับปรุงแก้ไขมาตรา 35 โดยใช้เกณฑ์ตามประมวลกฎหมายอาญาโดยกรณีที่จะมีการตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องขออนุมัติจากศาลอย่างเป็นทางการก่อนถึงจะมีสิทธิ์ตรวจสอบข้อมูลส่วนบุคคลได้
    การคัดค้านถือว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ดี และ ให้ภาคประชาชนมีส่วนร่วมเพื่อช่วยแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้มีประสิทธิภาพ ซึ่ง สพธอ. ก็เห็นด้วย  และ ยอมรับว่าการร่างกฎหมายเร่งรีบดำเนินการ เมื่อมีการท้วงติง สพธอ. ต้องปรับปรุงแก้ไข"
++ขั้นตอนขณะนี้
    ร่าง กฎหมายจำนวน 10 ฉบับ กระบวนการอยู่ในชั้นการตรวจสอบจากกฤษฎีกา ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบแล้ว จะมีการนำเสนอต่อ ครม. (คณะรัฐมนตรี) และ ขั้นตอนสุดท้ายผ่านขั้นตอนการตรวจสอบจาก สนช. (สภานิติบัญญัติแห่งชาติ) แต่ก่อนจะถึงสภาน่าจะมีการประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ
ในเร็ว ๆ นี้  เชื่อว่าจะมีกฎหมาย 3 ฉบับแรกได้รับการพิจารณาจาก ครม. เนื่องจากกฎหมาย 3 ฉบับแรกไม่ซ้ำซ้อนมากนัก ประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ. ปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม (ฉบับที่...) พ.ศ.... เพื่อกำหนดให้มีกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่จะเปลี่ยนชื่อมาจากกระทรวงไอซีที , ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ.... และ ร่าง พ.ร.บ.กองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ....
++สิ้นปีจะเห็นผลหรือไม่
    รัฐบาลได้วางกรอบไว้แล้วว่าภายใน 3-6 เดือนจะออกมาบังคับใช้เป็นกฎหมาย แต่ต้องผ่านชั้นกระบวนการจากนิติบัญญัติเสียก่อน ถึงจะผ่านเป็นร่างกฎหมายออกมาบังคับใช้ ซึ่งรัฐบาลพยายามอย่างเต็มที่ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้
++ลดบทบาท กสทช.
    รัฐบาลไม่ได้ลดบทบาท กสทช. แต่คลื่นความถี่เป็นสิทธิ์ของรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องการเจรจาคลื่นความถี่ระหว่างประเทศ รัฐบาล ต้องรับบทบาทหน้าที่ในการเจรจาไม่ใช่องค์กรอิสระ ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ทั้งวิทยุและโทรทัศน์ เป็นอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ยังสามารถบริหารจัดการในเรื่องนี้เหมือนเดิม
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ


http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=265690:2015-02-17-06-22-40&catid=123:2009-02-08-11-44-33&Itemid=491#.VOa7R0JAeuw

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.