Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

20 กุมภาพันธ์ 2558 LOXLEY มีบุคลากรที่เป็นนักการศึกษาที่ได้รับการรับรองจาก Apple (Apple Authorized Education Trainer) 2 คน ซึ่งในประเทศไทยมีเพียง 7 คนเท่านั้น

ประเด็นหลัก


       มิติด้านคุรุศาสตร์ เป็นหัวใจสำคัญของโซลูชันสมาร์ทคลาสรูมของล็อกซเล่ย์ ซึ่งบริษัทฯ มีบุคลากรที่เป็นนักการศึกษาที่ได้รับการรับรองจาก Apple (Apple Authorized Education Trainer) สามารถจัดอบรมหลักสูตรพัฒนาวิชาชีพครูของ Apple ที่เรียกว่า APD (Apple Professional Development) โดยปัจจุบัน ล็อกซเล่ย์มีบุคลากรดังกล่าวอยู่ถึง 2 คน ซึ่งในประเทศไทยมีเพียง 7 คนเท่านั้น และ 1 ใน 2 คนของล็อกซเล่ย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยที่มีศักยภาพในการแนะแนวและร่วมออกแบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน (Lesson Plan) และการทำวิจัยชั้นเรียน (Classroom Research) เพื่อวัดผลการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะที่ผู้ให้บริการรายอื่นยังไม่สามารถทำได้แบบล็อกซเล่ย์


_____________________________________________________










“ล็อกซเล่ย์” ส่งสมาร์ทคลาสรูมครบวงจร เจาะตลาดการศึกษา


นางวนิดา แสงแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายอุปกรณ์สื่อสารไอทีและมัลติมีเดีย บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน)

        ล็อกซเล่ย์ต่อยอดตลาดการศึกษา ส่งสมาร์ทคลาสรูมครบวงจร เจาะตลาดสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน ชูจุดเด่นความน่าเชื่อถือในฐานะเป็น Apple Authorized Reseller ด้าน Education สร้างความแตกต่างด้วยการพัฒนาหลักสูตรร่วมกับโรงเรียนโดยนักการศึกษาที่ได้รับการรับรองโดยตรงจาก Apple
     
       นางวนิดา แสงแก้ว ผู้อำนวยการฝ่ายอุปกรณ์สื่อสารไอทีและมัลติมีเดีย บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีนี้ ล็อกซเล่ย์มีแผนที่จะขยายตลาดด้านการศึกษาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อนหน้านี้ได้เปิดตลาดในส่วนของกลุ่มลูกค้าทั่วไปผ่านร้านค้าออนไลน์ “เอ็ดดูโซน บาย ล็อกซเล่ย์” (EduZone by Loxley) บนเว็บไซต์ชอปปิ้งยอดนิยมอย่างลาซาด้า (Lazada) และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี บริษัทฯ จึงเริ่มขยายฐานลูกค้าในฝั่งของลูกค้าองค์กรควบคู่กันไปด้วย โดยล่าสุด ล็อกซเล่ย์ได้รับความไว้วางใจจากบริษัท Apple South Asia (Thailand) Inc. แต่งตั้งให้เป็น Apple Authorized Education Reseller อย่างเป็นทางการในประเทศไทย บริษัทฯ จึงมั่นใจว่าจะสามารถนำเสนอโซลูชันด้านการศึกษาให้กับสถาบันการศึกษาต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างแน่นอน
     
       สำหรับโซลูชันด้านการศึกษาที่จะนำมาทำตลาดในส่วนนี้ คือ โซลูชันห้องเรียนอัจฉริยะ หรือ สมาร์ทคลาสรูมแบบครบวงจรภายใต้กรอบของ “ทีแพค โมเดล บาย มิสซาร์และโคห์เลอร์” (TPACK Model By Mishra and Koehler) ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่แห่งการเรียนรู้ที่นำเทคโนโลยีการสื่อสารกับเทคนิคการนำเสนอสื่อการเรียนการสอน มาประยุกต์ใช้ร่วมกัน แล้วออกแบบเป็นโซลูชันที่เหมาะสมกับบริบทที่แตกต่างกันของแต่ละสถาบัน โดยแบ่งการพัฒนาเป็น 3 มิติ ได้แก่ มิติด้านเทคโนโลยี (Technology) มิติด้านเนื้อหา (Content) และมิติด้านคุรุศาสตร์ (Pedagogy)
     
       มิติด้านเทคโนโลยี ล็อกซเล่ย์จะให้คำปรึกษาตั้งแต่การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที ไปจนถึงการเลือกใช้อุปกรณ์ ซึ่งในฐานะ Apple Authorized Reseller ด้าน Education ลูกค้าจึงมั่นใจได้ว่าผลิตภัณฑ์ ที่นำมาใช้ในโซลูชันสมาร์ทคลาสรูมของล็อกซเล่ย์ เช่น Mac Book หรือ iPad ทุกชิ้นเป็นอุปกรณ์ที่ได้มาตรฐานจาก Apple ในราคาที่เหมาะสมอย่างแท้จริง
     
       ส่วนในมิติด้านเนื้อหา ล็อกซเล่ย์จะช่วยพัฒนาสื่อการสอนในรูปแบบ Interactive Multi-Touch Content และการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการศึกษาต่างๆ ตลอดจนให้คำแนะนำในการคัดเลือกสาระจาก iTunes U ไปใช้ในการเรียนการสอน และแนะนำแอปพลิเคชันด้านการศึกษาที่มีมากกว่า 50,000 แอป ใน App Store มาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับนักเรียนแต่ละระดับชั้น
     
       มิติด้านคุรุศาสตร์ เป็นหัวใจสำคัญของโซลูชันสมาร์ทคลาสรูมของล็อกซเล่ย์ ซึ่งบริษัทฯ มีบุคลากรที่เป็นนักการศึกษาที่ได้รับการรับรองจาก Apple (Apple Authorized Education Trainer) สามารถจัดอบรมหลักสูตรพัฒนาวิชาชีพครูของ Apple ที่เรียกว่า APD (Apple Professional Development) โดยปัจจุบัน ล็อกซเล่ย์มีบุคลากรดังกล่าวอยู่ถึง 2 คน ซึ่งในประเทศไทยมีเพียง 7 คนเท่านั้น และ 1 ใน 2 คนของล็อกซเล่ย์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานวิจัยที่มีศักยภาพในการแนะแนวและร่วมออกแบบจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน (Lesson Plan) และการทำวิจัยชั้นเรียน (Classroom Research) เพื่อวัดผลการเรียนรู้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะที่ผู้ให้บริการรายอื่นยังไม่สามารถทำได้แบบล็อกซเล่ย์
     
       “ที่ผ่านมา ล็อกซเล่ย์ประสบความสำเร็จในการวางระบบสมาร์ทคลาสรูมให้กับโรงเรียนพระหฤทัยคอนแวนซ์ไปแล้ว โดยเข้าไปให้คำปรึกษาตั้งแต่เริ่มแรก จนกระทั่งปัจจุบันมีการใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม และกำลังใกล้เข้าสู่รูปแบบที่ครูผู้สอนและนักเรียนทุกคนมีอุปกรณ์เคลื่อนที่ (Mobile Device) เป็นของตนเอง ลักษณะหนึ่งเครื่องต่อหนึ่งคนเพื่อตอบสนองการเรียนรู้แบบบูรณาการ หรือเรียกว่ารูปแบบ วัน-ทู-วัน และในอนาคตอันใกล้นี้ กำลังขยายโซลูชันดังกล่าวไปยังโรงเรียนในเครือพระหฤทัยฯ อีกหลายแห่ง รวมทั้งโรงเรียนอื่นๆ ทั้งรัฐและเอกชนที่ให้ความสนใจด้วยเช่นเดียวกัน”
     


http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000020283

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.