Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

19 กุมภาพันธ์ 2558 Samsung จะส่งตัวอัปเดตซอร์สโค้ดที่สามารถเข้ารหัสคำสั่งเสียงได้ก่อนที่จะถูกส่งออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ภายนอก เพื่อปกป้องข้อมูลของยูสเซอร์ กรณีสมาร์ททีวีรุ่นเก่า

ประเด็นหลัก


       ล่าสุด ทางซัมซุงได้ออกมาเผยแผนในการรับมือแล้ว โดยทางบริษัทระบุว่า จะส่งตัวอัปเดตซอร์สโค้ดที่สามารถเข้ารหัสคำสั่งเสียงได้ก่อนที่จะถูกส่งออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ภายนอก เพื่อปกป้องข้อมูลของยูสเซอร์
     
       โดยข้อมูลที่ทางบริษัทเปิดเผยคือ “สมาร์ททีวีรุ่นล่าสุดของเราจะผนวกฟีเจอร์การเข้ารหัสข้อมูลลงไปด้วย ส่วนผู้ที่ซื้อสมาร์ททีวีไปก่อนหน้านี้ ซอฟต์แวร์อัปเดตรุ่นล่าสุดก็ใกล้จะพร้อมสำหรับการดาวน์โหลดแล้ว”
   


_____________________________________________________










ซัมซุงส่งอัปเดตแก้ปัญหาทีวีกลายเป็นสปายอัจฉริยะ



        ซัมซุง เตรียมส่งอัปเดตเทคโนโนลีเข้ารหัสไปยังสมาร์ททีวีรุ่นเก่าแล้ว หลังพบปัญหาใหญ่ ทีวีอัจฉริยะแอบส่งเสียงผู้ใช้ไปยังเธิร์ดปาร์ตี้โดยไม่ได้เข้ารหัส
     
       หลังจากเกิดกรณีอื้อฉาวเมื่อมีผู้พบว่า ฟีเจอร์ที่อนุญาตให้เจ้าของสามารถสั่งทีวีอัจฉริยะได้ด้วยเสียงของซัมซุง (Samsung) กลายสภาพเป็นสปายอัจฉริยะประจำบ้าน ที่สามารถแคปเจอร์เสียงของผู้ใช้แล้วส่งออกไปยังผู้ให้บริการ Speech Recognition อย่างบริษัท Nuance เพื่อทำการวิเคราะห์เสียงได้ จนนำไปสู่ความวิตกกังวลว่า อาจทำให้ข้อมูลรั่วไหล เสี่ยงต่อการถูกแฮกเกอร์เจาะระบบได้ง่ายขึ้นนั้น
     
       ล่าสุด ทางซัมซุงได้ออกมาเผยแผนในการรับมือแล้ว โดยทางบริษัทระบุว่า จะส่งตัวอัปเดตซอร์สโค้ดที่สามารถเข้ารหัสคำสั่งเสียงได้ก่อนที่จะถูกส่งออกไปยังเซิร์ฟเวอร์ภายนอก เพื่อปกป้องข้อมูลของยูสเซอร์
     
       โดยข้อมูลที่ทางบริษัทเปิดเผยคือ “สมาร์ททีวีรุ่นล่าสุดของเราจะผนวกฟีเจอร์การเข้ารหัสข้อมูลลงไปด้วย ส่วนผู้ที่ซื้อสมาร์ททีวีไปก่อนหน้านี้ ซอฟต์แวร์อัปเดตรุ่นล่าสุดก็ใกล้จะพร้อมสำหรับการดาวน์โหลดแล้ว”
     
       ความวิตกกังวลของผู้บริโภคทำให้ผู้เชี่ยวชาญด้านซิเคียวริตีอย่าง Ken Munro และ David Lodge จาก Pen Test Partners ออกมาเผยผลการทดสอบทีวีรุ่นที่สามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ของซัมซุง ซึ่งเขาระบุว่า สิ่งที่ระบบอัปโหลดออกสู่บริษัทเธิร์ดปาร์ตี้อย่าง Nuance นั้นมีทั้งไฟล์เสียงที่ไม่ได้เข้ารหัส ข้อมูลของตัวทีวีเอง รวมถึง MAC address ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญมากด้วย
     
       นอกจากนั้น ยังพบด้วยว่าเมื่อข้อมูลถูกส่งกลับมาที่ทีวีผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เพื่อสั่งให้ทีวีปฏิบัติตามนั้น ก็เป็นข้อมูลที่ไม่ได้เข้ารหัสเช่นกัน ซึ่งง่ายมากสำหรับแฮกเกอร์ในการเก็บข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ไป และ Munro มองว่าปัญหานี้เป็นเรื่องอันตรายมาก
     
       “ทางแก้นั้นง่ายนิดเดียว การติดต่อสื่อสารกับเซิร์ฟเวอร์ควรมีการเข้ารหัสโดยใช้ SSL [Secure Sockets Layer cryptographic protocols] เพื่อปกป้องข้อมูลสำคัญภายในบ้าน” Munro กล่าว
     
       ส่วนกรณีที่สมาร์ททีวีของซัมซุงสามารถฉายภาพยนตร์โฆษณายี่ห้อเป๊บซี่ได้ด้วยตัวเอง ทั้งๆ ที่เจ้าของเครื่องกำลังรับชมภาพยนตร์เรื่องโปรดอยู่นั้น ทางบริษัทได้เผยความคืบหน้าว่าอยู่ระหว่างการสอบสวน





http://manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9580000020312

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.