Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

18 กุมภาพันธ์ 2558 TRUE.กิตติณัฐ ระบุ คลื่นที่มีในมือเหลือ ๆ ทั้งในระบบใบอนุญาต (2100GHz) และสัญญาธุรกิจกับ CAT (850MHz) โดยปีนี้เน้นขยายเครือข่าย 4G 2100 ให้ครอบคลุม 80% ภายใน เม.ย.นี้



ประเด็นหลัก



แม้จะออกมายืนยันสนับสนุนการเร่งประมูลคลื่นใหม่ทั้ง 900-1800MHz รวมถึงช่วงคลื่นอื่น ๆ เพื่อนำมาให้บริการ 4G โดยเร็ว แต่ใครต่อใครยังมองว่ายิ่งการประมูลลากยาวออกไปนานเท่าไร ค่ายที่ได้เปรียบสุด หนีไม่พ้น "ทรูมูฟเอช" เพราะคลื่นที่มีในมือเหลือ ๆ ทั้งในระบบใบอนุญาต (2100GHz) และสัญญาธุรกิจกับ "กสท โทรคมนาคม" (850MHz)

จะอย่างไรก็แล้วแต่ สิ่งที่จะยอมไม่ได้คือการปักธงเป็นผู้นำในบริการ 4G โดยประกาศว่าจะเร่งขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม 80% ของประชากรในประเทศภายในเดือน เม.ย.จากปัจจุบัน 20% (กรุงเทพฯและ 15 จังหวัด) เรียกว่าเร่งเต็มสูบ


- ทรูมูฟเอชได้เปรียบตรง 4G

ก็น่าจะมีความพร้อมที่สุด และกำลังเร่งขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม 80% ภายใน เม.ย.นี้ คิดเป็นจำนวนสถานีฐานรวม ๆ เฉพาะ 4G น่าจะ 8,000-9,000 จุด รวมไมโครเซลส์ด้วย ซึ่งจะทำให้การใช้งาน 4G ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะนอกจากเครือข่ายแล้ว ในแง่เครื่องก็ไม่ใช่ปัญหา ผ่านราคาที่ถูกลง

_____________________________________________________












"ทรู" ระเบิดศึกเฮาส์แบรนด์ ตอกย้ำผู้นำ 4G ติดสปีดชิงเบอร์ 2

สัมภาษณ์

แม้จะออกมายืนยันสนับสนุนการเร่งประมูลคลื่นใหม่ทั้ง 900-1800MHz รวมถึงช่วงคลื่นอื่น ๆ เพื่อนำมาให้บริการ 4G โดยเร็ว แต่ใครต่อใครยังมองว่ายิ่งการประมูลลากยาวออกไปนานเท่าไร ค่ายที่ได้เปรียบสุด หนีไม่พ้น "ทรูมูฟเอช" เพราะคลื่นที่มีในมือเหลือ ๆ ทั้งในระบบใบอนุญาต (2100GHz) และสัญญาธุรกิจกับ "กสท โทรคมนาคม" (850MHz)

จะอย่างไรก็แล้วแต่ สิ่งที่จะยอมไม่ได้คือการปักธงเป็นผู้นำในบริการ 4G โดยประกาศว่าจะเร่งขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม 80% ของประชากรในประเทศภายในเดือน เม.ย.จากปัจจุบัน 20% (กรุงเทพฯและ 15 จังหวัด) เรียกว่าเร่งเต็มสูบ

ไม่ใช่แค่นั้นการรุกเก็บเกี่ยวมาร์เก็ตแชร์ก็ด้วย หลังจากปีที่ผ่านมา มีการปรับโครงสร้างภายในแบ่งการทำงานออกเป็นภาคก็ทำให้เล่นเกมบุกเจาะตลาดในแต่ละพื้นที่ได้ดีขึ้น

ยังไม่นับความร่วมมือกับ"ไชน่าโมบายล์"พันธมิตรเชิงกลยุทธ์ที่จะมีให้มากขึ้นในปีนี้

"ประชาชาติธุรกิจ"มีโอกาสพูดคุยกับ"ดร.กิตติณัฐ ทีคะวรรณ" ผู้อำนวยการบริหารธุรกิจรีเทล ซึ่งล่าสุดเพิ่งได้รับการโปรโมตให้มาดูภาพรวมการตลาดของทรูมูฟเอชในหัวหน้าคณะผู้บริหารด้านการพาณิชย์ ธุรกิจโมบาย บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น ดังนี้

- มองภาพรวมตลาดปีนี้อย่างไร

ในแง่การแข่งขันยังคงดุเดือดเหมือนเดิม โดยผู้ให้บริการแต่ละรายจะใช้กลยุทธ์ด้านดีไวซ์มากขึ้น เพื่อดึงให้ผู้ที่ยังไม่เคยใช้ดาต้า หรือเพิ่งเริ่มใช้งานแต่ต้องการประสิทธิภาพที่ดีกว่าเดิม เปลี่ยนมาใช้เครื่องรุ่นใหม่ ซึ่งก็จะได้ใช้แพ็กเกจที่ดีขึ้นด้วย ผลประโยชน์ตกอยู่กับผู้บริโภค เพราะได้ซื้อเครื่องในราคาที่ประหยัดกว่าเดิม

ในมุมของผู้ให้บริการจะต้องมีความแตกต่างที่มากกว่าราคา เช่น เรื่องประสิทธิภาพโครงข่ายที่ต้องรองรับการใช้งานดาต้าที่หนักขึ้นได้ดี ซึ่งทรูจะมีโครงข่ายที่รองรับเทคโนโลยี 4G LTE หลังจาก 3G ครอบคลุม 97% ของประชากรแล้ว

- ทรูมูฟเอชได้เปรียบตรง 4G

ก็น่าจะมีความพร้อมที่สุด และกำลังเร่งขยายเครือข่ายให้ครอบคลุม 80% ภายใน เม.ย.นี้ คิดเป็นจำนวนสถานีฐานรวม ๆ เฉพาะ 4G น่าจะ 8,000-9,000 จุด รวมไมโครเซลส์ด้วย ซึ่งจะทำให้การใช้งาน 4G ในประเทศไทยเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เพราะนอกจากเครือข่ายแล้ว ในแง่เครื่องก็ไม่ใช่ปัญหา ผ่านราคาที่ถูกลง

- ฐานลูกค้าปัจจุบันใช้ระบบไหนบ้าง

ตัวเลขเป็นทางการอยากให้รอการแจ้งผลประกอบการก่อน แต่ถ้าอ้างอิงจากไตรมาส 3 ปีที่แล้ว รวม ๆ จะอยู่ที่ 26 ล้านเลขหมาย เป็น 4G ประมาณ 9 แสนราย ที่เหลือเป็น 3G

- 2G เหลือเท่าไร

สัก 1-2 ล้านเลขหมาย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่บนพรีเพดเป็นหลัก

- สมาร์ทโฟนจะมีบทบาทมาก

2-3 ปีก่อน ยอดนำเข้าฟีเจอร์โฟนจะอยู่ที่ 70% แต่ปีที่แล้วอยู่ที่ 50% อีกครึ่งนึงเป็นสมาร์ทโฟน แต่ปีนี้คาดว่าฟีเจอร์โฟนจะเหลือสัก 20% เนื่องจากผู้บริโภคมีความต้องการใช้งานดาต้าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว จากความนิยมในการใช้งานโซเชียลเน็ตเวิร์ก ขณะที่ราคาเครื่องก็ถูกลงมาก

- เรื่องเครื่องจะลุยดีไวซ์เต็มที่

จะเน้นเฮาส์แบรนด์ของทรูมากขึ้น โดยปรับภาพลักษณ์ให้เป็นดีไวซ์ที่คุ้มค่า มีทั้งฟีเจอร์โฟน และสมาร์ทโฟน รวมกันปีนี้น่าจะเปิดตัว 10-15 รุ่น ทุกรุ่นจะรองรับการใช้งานดาต้าบนเทคโนโลยี 3G เกือบทุกรุ่นใช้ 4G ได้ โดยรุ่นที่รองรับ 4G จะกดราคาลงมาให้เริ่มต้นที่ 5,000 บาท ถูกที่สุดในตลาด เพราะคาดว่าราคาเครื่องที่รองรับ 4G LTE ได้โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 1 หมื่นบาท

ที่เราทำอย่างนี้ได้เพราะเป็นพันธมิตรกับไชน่าโมบายล์ทำให้ได้ราคาพิเศษในการสั่งผลิตโทรศัพท์มือถือที่จีนวันนี้โรงงานผลิตมือถือ100ละ100 อยู่ที่จีน และอยู่ภายใต้การทำธุรกิจกับไม่ไชน่าโมบายล์ก็ไชน่ายูนิคอม ดังนั้นจึงถือเป็นโอกาสของทรู

อย่างเช่น True Smart รุ่นแรกก็เกิดจากความร่วมมือกับไชน่าโมบายล์ ซึ่งไม่ใช่แค่เครื่อง เรายังพัฒนาบริการร่วมกันออกมาเป็นบริการที่เรียกว่า เบอร์ไทย-แดนมังกร ที่สะดวก และประหยัดสำหรับลูกค้ากรณีต้องเดินทางไปติดต่อธุรกิจหรือท่องเที่ยวที่จีน และฮ่องกง

- ระดับราคาของเฮาส์แบรนด์ทรู

เริ่มต้นที่ 599 บาทสำหรับฟีเจอร์โฟน 3G อยู่ในตระกูล True Super ปีนี้จะเปิดตัว True Super II ถือเป็นฟีเจอร์โฟน 3G ที่ราคาถูกที่สุดในตลาด เพราะราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 1,300 บาท

ถัดมาเป็น True Smart ราคาตั้งแต่ 1,390-8,990 บาท มีจุดเด่นแตกต่างกันในแต่ละรุ่น อย่าง True Smart 4G 5.5 Enterprise ก็หน้าจอใหญ่ และใช้ 4G LTE ได้ทุกเทคโนโลยี และแบนด์วิดท์ กล้องชัด 8 ล้านพิกเซล ราคา 8,990 บาท เฉพาะรุ่นนี้ตั้งเป้าไว้ที่ 3-5 หมื่นเครื่อง

- ร่วมกับไชน่าโมบายล์ทุกรุ่น

ไม่ถึงขนาดนั้น บางรุ่นทรูยังหาผู้ผลิตเอง แต่สมาร์ทโฟนส่วนใหญ่จะเป็นการร่วมกับไชน่าโมบายล์ ถึงจะร่วมกันอย่างไร โทรศัพท์ทั้งหมดก็ยังติดแบรนด์ True เพราะเรามั่นใจในสินค้า และคุณภาพโครงข่าย

- เฮาส์แบรนด์จะมีบทบาทมาก

ถูกและมั่นใจว่ารายได้จากการจำหน่ายดีไวซ์จะเพิ่มขึ้น 15-20% แน่นอน และมีความเป็นไปได้ที่ทรูจะจำหน่ายเฮาส์แบรนด์เกิน 50% ของจำนวนมือถือที่จำหน่ายทั้งหมดในปีนี้ ผ่านทรูช็อป 250 สาขา, ทรูพาร์ตเนอร์ 100 สาขา, เซเว่นอีเลฟเว่น และร้านลูกตู้รวมกันหลักพันจุด

ถ้าเทียบเป็นรายได้ เฮาส์แบรนด์น่าจะมีสัดส่วนสัก 20% เพราะเครื่องค่อนข้างถูก ปี 2557 ที่ผ่านมา เราทำเฮาส์แบรนด์แค่ 5 รุ่น มีสัดส่วน 15-20% จากยอดรวม

- แพ็กเกจก็ต้องดึงดูด

แพ็กเกจที่ทำควบคู่ไปกับเครื่องทั้งเฮาส์แบรนด์ และอินเตอร์แบรนด์จะต้องมีความคุ้มค่า และแตกต่างจากคู่แข่ง เพื่อดึงผู้บริโภคเข้ามาใช้งาน ผ่านความเหมาะสมของแต่ละกลุ่ม เช่น สมาร์ทโฟนเริ่มต้นจะให้ผู้ซื้อเลือกว่าจะชำระค่าเครื่องเต็มราคา แต่ได้แพ็กเกจลด 50% หรือซื้อเครื่องราคาถูก แค่ 399 บาท แต่แพ็กเกจราคาเต็ม

ส่วนสมาร์ทโฟนอินเตอร์แบรนด์ก็จะมีโปรโมชั่นเฉพาะแบรนด์มากขึ้น จากเดิมทำกับแอปเปิล, ซัมซุง และออปโป้ เริ่มต้น 399 บาท โทร.ฟรีทุกเครือข่าย 07.00 - 17.00 น. (นอกเวลา 1.25 บาท/นาที) อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงสุด 1.5 GB

- ขึ้นมาเป็นซีเอ็มโอแล้วจะทำอะไรบ้าง

จริง ๆ ก็เพิ่งไม่กี่วันนี้เองครับ (3 ก.พ. 2558) ขออีกสักพักคงจะพูดได้มากกว่านี้ว่าจะยังไงบ้าง การทำตลาดเราแบ่งเป็นพื้นที่อยู่แล้วในภาพรวมก็จะซัพพอร์ตในแต่ละพื้นที่อย่างเต็มที่

- มีโอกาสขยับจากที่ 3 เป็นที่ 2

มีโอกาส แต่ถ้าดูเฉพาะโพสต์เพดใกล้มากแล้ว


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1424056420

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.