Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

09 กุมภาพันธ์ 2558 โปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับ 3 ถ่ายภาพ-อัดเสียงหนังโรงเล่นๆ โทษปรับ 20000 บาท ถึง 800000 บาท คุก 6 เดือน ถึง 4 ปี



ประเด็นหลัก


ขณะที่ มาตรา 69 ระบุว่า ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากนำมาเปรียบเทียบจะพบว่า เนื้อความกฎหมายฉบับใหม่ ที่เพิ่มขึ้นมา มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะการนำอุปกรณ์บันทึก ภาพและเสียง ขึ้นมาบันทึกภาพและเสียงของภาพยนต์ ในระหว่างที่กำลังฉายอยู่ ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ขณะที่ลงโทษ มีลักษณะเดียว คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า


_____________________________________________________



















กม.ลิขสิทธิ์ใหม่!ถ่ายภาพ-อัดเสียงหนังโรงเล่นๆ โทษปรับสูงสุด8แสน-คุก4ปี

โปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ ฉบับ 3 กำหนดลักษณะ-บทลงโทษใหม่ คุมเข้มพวกชอบถ่ายภาพ บันทึกเสียงหนังระหว่างฉายในโรงภาพยนต์ ระบุจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี ปรับตั้งแต่หนึ่งแสนถึงแปดแสน หรือทั้งจำ-ปรับ แม้ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า


ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2558 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558  ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558 มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ

 ซึ่งมีสาระสำคัญในการเพิ่มเติมความ ใน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ใน 3 ส่วน คือ

1. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 28/1 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

-มาตรา 28/1 การทำซ้ำโดยการบันทึกเสียงหรือภาพหรือทั้งเสียงและภาพจากภาพยนตร์อันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ ในโรงภาพยนตร์ตามกฎหมายว่าด้วยภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่บางส่วน โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ในระหว่างการฉายในโรงภาพยนตร์ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ และมิให้นำมาตรา 32 วรรคสอง (2) มาใช้บังคับ ( มาตรา 32 วรรคสอง (2) คือ ข้อยกเว้นสำหรับใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัวหรือญาติสนิท ไม่ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์)

2. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (9) ของวรรคสองของมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

-(9) ทำซ้ำ หรือดัดแปลง เพื่อประโยชน์ของคนพิการที่ไม่สามารถเข้าถึงงานอันมีลิขสิทธิ์อันเนื่องมาจากความบกพร่องทางการเห็น การได้ยิน สติปัญญา หรือการเรียนรู้ หรือความบกพร่องอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร ทั้งนี้ รูปแบบของการทำซ้ำหรือดัดแปลงตามความจำเป็นของคนพิการและองค์กรผู้จัดทำรวมทั้งหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเพื่อทำซ้ำหรือดัดแปลงให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา

3. ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 69/1 แห่งพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537

-มาตรา 69/1 ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์ตามมาตรา 28/1 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

โดยพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบเนื้อหาในพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ฉบับเดิมพบว่า ในมาตรา 28 ระบุ เนื้อความเพียงแค่ว่า "การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งแก่โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ หรือสิ่งบันทึกเสียงอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ โดยไม่ได้รับอนุญาตตามมาตรา 15 (5) ทั้งนี้ ไม่ว่าในส่วนที่เป็นเสียงและหรือภาพ ให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ถ้าได้กระทำดังต่อไปนี้

(1) ทำซ้ำหรือดัดแปลง

(2) เผยแพร่ต่อสาธารณชน

(3) ให้เช่าต้นฉบับหรือสำเนางานดังกล่าว

ขณะที่ มาตรา 69 ระบุว่า ผู้ใดกระทำการละเมิดลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตามมาตรา 27 มาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 หรือมาตรา 52 ต้องระวางโทษปรับตั้งแต่สองหมื่นบาทถึงสองแสนบาท

ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเพื่อการค้า ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากนำมาเปรียบเทียบจะพบว่า เนื้อความกฎหมายฉบับใหม่ ที่เพิ่มขึ้นมา มีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะการนำอุปกรณ์บันทึก ภาพและเสียง ขึ้นมาบันทึกภาพและเสียงของภาพยนต์ ในระหว่างที่กำลังฉายอยู่ ทั้งหมดหรือบางส่วน ให้ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์

ขณะที่ลงโทษ มีลักษณะเดียว คือ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสี่ปี หรือปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงแปดแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า

http://www.isranews.org/isranews-news/item/36348-ee04.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.