Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

08 กุมภาพันธ์ 2558 Ericsson ชี้ ถ้าโอเปอเรเตอร์จะนำมาให้บริการบนเทคโนโลยี 4G LTE ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า 3G ถึง 5 เท่าตัว ดังนั้นการส่งข้อมูลขนาดใหญ่จะทำได้เร็วขึ้น โดยแถบคลื่นที่เหมาะสมอยู่ที่ 10-15 MHz



ประเด็นหลัก


หากมีการประมูลคลื่นใหม่ โอเปอเรเตอร์จะนำมาให้บริการบนเทคโนโลยี 4G LTE ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า 3G ถึง 5 เท่าตัว ดังนั้นการส่งข้อมูลขนาดใหญ่จะทำได้เร็วขึ้น โดยแถบคลื่นที่เหมาะสมอยู่ที่ 10-15 MHz และช่วยให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน ซึ่งการขึ้นเป็นที่ 2 ในการให้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตจะวัดจากความเร็ว และจำนวนเลขหมายที่ใช้ จากเดิมไทยอยู่อันดับ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย


_____________________________________________________



















จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ในยุค "โมบายอินเทอร์เน็ต" ครองโลก



เอกชนขานรับนโยบายเศรษฐกิจดิจิทัลโดยถ้วนหน้าด้วยเห็นว่าการนำเทคโนโลยีมาใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเป็นเรื่องที่เข้ายุคสมัย และส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใหม่ ๆ เตรียมพร้อมเพื่อให้ประเทศไทยได้ก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางในภูมิภาคนี้

"บัญญัติ เกิดนิยม" ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสาร และองค์กรสัมพันธ์ บริษัท อีริคสัน ประเทศไทย จำกัด กล่าวว่า การก้าวไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้ต้องวางรากฐานการเชื่อมต่อรูปแบบใหม่ จากในอดีตใช้ระบบคมนาคม เช่น ตัดถนนใหม่หรือระบบรถไฟ แต่หลังจากนี้ระบบโทรคมนาคมจะกลายเป็นวิธีหลักในการเชื่อมต่อข้อมูลแทน เพราะประชากรเกือบทุกคนสามารถเข้าถึง และสร้างข้อมูลโดยใช้อุปกรณ์ใหม่ ๆ โดยไม่ต้องเดินทางไปหากันอีกต่อไป ดังนั้นการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลจึงต้องวางโครงสร้างระบบโทรคมนาคมให้ดี ซึ่งหมายถึงการมีฟิกซ์บรอดแบนด์ที่ครอบคลุม และโมบายอินเทอร์เน็ตที่มีประสิทธิภาพ แต่ปัจจุบันผู้ให้บริการโทรคมนาคมในประเทศไทยขาดแคลนคลื่นความถี่ที่จะให้บริการได้เต็มที่ ทำให้การประมูลคลื่นเพิ่มมีความจำเป็น

"การเร่งแผนประมูลคลื่น 900 และ 1800 MHz ให้ได้ปีนี้เป็นอีกจุดที่จะก้าวไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัลได้ ถ้าดีกว่านั้นต้องนำคลื่นอื่น เช่น 700 และ 2300 MHz มาประมูลด้วย เพื่อให้โอเปอเรเตอร์มีความหลากหลายในการใช้คลื่น ขณะที่การกำกับกิจการโทรคมนาคมต้องมีความเป็นธรรม และไม่ขึ้นอยู่กับภาครัฐเต็มตัว เพื่อไม่ให้กลับไปสู่ยุคสัมปทานอีก กสทช.ควรวางนโยบาย และตัดสินใจได้"

หากมีการประมูลคลื่นใหม่ โอเปอเรเตอร์จะนำมาให้บริการบนเทคโนโลยี 4G LTE ซึ่งมีความเร็วสูงกว่า 3G ถึง 5 เท่าตัว ดังนั้นการส่งข้อมูลขนาดใหญ่จะทำได้เร็วขึ้น โดยแถบคลื่นที่เหมาะสมอยู่ที่ 10-15 MHz และช่วยให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อข้อมูลระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกัน ซึ่งการขึ้นเป็นที่ 2 ในการให้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตจะวัดจากความเร็ว และจำนวนเลขหมายที่ใช้ จากเดิมไทยอยู่อันดับ 3 รองจากสิงคโปร์ และมาเลเซีย

ในปี 2558 ประเทศไทยจะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือที่ 103 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 150% ของจำนวนประชากร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มี 97.7 ล้านเลขหมาย คิดเป็น 145% ของประชากร ที่สำคัญในปีนี้จะมีเลขหมายที่ใช้บนสมาร์ทโฟนถึง 50% ราคาเครื่องราคาเริ่มต้นพันบาท และเกือบ 70% มีการใช้โมบายอินเทอร์เน็ต

จากปัจจัยบวกทั้งหมดทำให้ความจำเป็นในการมีคลื่นความถี่เพิ่ม เพื่อรองรับการใช้งานมหาศาลได้เป็นเรื่องจำเป็น ซึ่งที่ผ่านมา "อีริคสัน" เข้าไปหารือกับ กสทช. เพื่อเสนอแนวทางในการจัดประมูลในรูปแบบต่าง ๆ

"ไม่ใช่ประเทศไทยแห่งเดียวที่มีการเติบโตของการใช้งาน แต่ทั่วโลกกำลังก้าวไปสู่การใช้โมบายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ดังนั้นในปีนี้จึงเกิดเทรนด์ใหม่ 10 อย่างที่ทำให้การใช้ชีวิตของผู้บริโภคง่ายขึ้น จากการสำรวจประชากรในหัวเมืองใหญ่ 10 แห่งทั่วโลก และผู้บริโภคในประเทศไทย"

เทรนด์แรก คือ การรับชมรายการต่าง ๆผ่านระบบสตรีมมิ่ง โดย 3 ใน 4 ของประชากรจะรับชมผ่านช่องทางนี้ การดูรายการผ่านโทรทัศน์จะค่อย ๆ ลดลง โดยประเทศไทยมีการรับชมรายการออนไลน์สตรีมมิ่ง 19% ต่างจากประเทศเวียดนามที่มีการรับชมถึง 30%

แนวโน้มที่ 2 คือ สมาร์ทโฮม เพราะผู้บริโภคต้องการควบคุมและรับรู้การเคลื่อนไหวต่าง ๆ ภายในบ้านได้ โดยประเทศไทยมีการใช้งานราว 11% ต่างจากสิงคโปร์ และมาเลเซียที่มีกว่า 30% ถัดมาเป็นเรื่อง "แวเรเบิลดีไวซ์" จะมีการใช้งานมากขึ้น เริ่มต้นจากทำตลาดของสมาร์ทวอตช์แบรนด์ต่าง ๆ

ปัจจุบันคนไทยใช้แวเรเบิลดีไวซ์ 7% สิงคโปร์ และมาเลเซียมีเกือบ 30% จุดสำคัญคือทุกคนต้องการใช้ แต่ติดเรื่องราคา

เทรนด์ที่ 4 คือ เครื่องมือช่วยเหลือผู้บริโภคให้ตัดสินใจได้ดีขึ้นจะเริ่มผลิตออกมา เทรนด์ที่ 5 มีการแบ่งปันข้อมูลที่มีอยู่ผ่านเว็บไซต์มากขึ้น เช่น เว็บไซต์ AirBNB เว็บที่ให้นำที่พักมาประกาศเพื่อให้นักท่องเที่ยวเช่า เป็นต้น

เทรนด์ที่ 6 การใช้งานกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ (โมบายวอลเลต) เต็มรูปแบบเพราะความสะดวกในการชำระเงิน และระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยในประเทศไทยมีการใช้งานเพียง 13% สิงคโปร์ และมาเลเซีย กว่า 50% ของจำนวนประชากร ชำระเงินผ่านระบบนี้ และช็อปปิ้งออนไลน์

เทรนด์ที่ 7 ผู้บริโภคต้องการเข้ารหัสข้อมูลส่วนตัวมากขึ้น โดย 56% ของกลุ่มสำรวจต้องการให้การสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ตมีการเข้ารหัส เทรนด์ที่ 8 คือ ความใส่ใจในเรื่องสุขภาพที่มากขึ้น และเชื่อว่าการใช้เทคโนโลยีออกกำลังกาย เช่น แอปพลิเคชั่น หรือแวเรเบิลดีไวซ์ ทำให้อายุยืนขึ้น 2 ปี

แนวโน้มถัดมา คือ การใช้งานหุ่นยนต์รูปแบบต่าง ๆ ในครัวเรือนเพื่ออำนวยความสะดวก และสุดท้าย เด็กทุกคนสามารถเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ได้เร็วขึ้นจนสามารถสอนผู้ที่ไม่เคยสนใจสิ่งนี้มาก่อนได้

"เมื่อประเทศไทยเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการโมบายอินเทอร์เน็ตได้สิ่งที่จะมาเป็นอย่างแรกคือการรับชมวิดีโอสตรีมมิ่งตามด้วยอุปกรณ์ช่วยเหลือการตัดสินใจของมนุษย์ และการเรียนรู้ของเด็กที่มีมากขึ้น สุดท้ายเป็นแรงขับสำคัญในการช่วยให้ผู้ใหญ่เปิดใจรับเทคโนโลยี ซึ่งอาจง่ายกว่าประเทศอื่นเพราะเริ่มมีการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์ก ซึ่งถือเป็นหนึ่งในวิธีการเชื่อมต่อข้อมูลแบบใหม่ของผู้บริโภค โดยในไทยมีกว่า 89% ของผู้สำรวจใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กเป็นประจำ"


http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1423110063

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.