Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

01 กุมภาพันธ์ 2558 กสทช.ธวัชชัย ระบุ มูลค่าโฆษณาในตลาดโทรทัศน์ประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาทต่อปีจะสร้างกำไรให้กับทุกบริษัทได้ ช่องที่ยังไม่มีจุดยืน ไม่ดึงความเด่นของตัวเองออกมา ในเชิงพาณิชย์แล้วก็มีโอกาสขาดทุนสูง






ประเด็นหลัก



กรรมการ กสทช. กล่าวอีกด้วยว่า การแข่งขันของทีวีดิจิทัลในตอนนี้ถือว่ามีความร้อนแรงพอสมควร เพราะทุกช่องพยายามผลิตรายการเพื่อดึงดูดทั้งผู้ชมและค่าโฆษณา เรามองว่ามูลค่าโฆษณาในตลาดโทรทัศน์ประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาทต่อปีจะสร้างกำไรให้กับทุกบริษัทได้ แต่ปัญหา คือ ในช่วงแรกอัตราค่าโฆษณาอาจจะไปกระจุกตัวอยู่ในช่องเดิมๆ อยู่ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดไปอยู่ในช่อง 3 และช่อง 7 เยอะมาก

ฉะนั้นหากผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องการจะอยู่ให้รอด ต้องสร้างจุดเด่นในตัวเองเพื่อเรียกผู้ชม อย่างที่ผ่านมาจะเห็นว่าทีวีดิจิทัลหลายช่องสามารถเรียกคะแนนจากคนดูและเรียกค่าโฆษณาได้เยอะ ส่วนช่องที่ยังไม่มีจุดยืน ไม่ดึงความเด่นของตัวเองออกมา ในเชิงพาณิชย์แล้วก็มีโอกาสขาดทุนสูง

"บางช่องอาจจะมองว่าเงินจากโฆษณาอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนช่อง อย่างช่องทีวีการเมืองทั้งหลายที่มีจุดประสงค์อื่นในการตั้งช่องโทรทัศน์ขึ้นมา แต่สำหรับช่องที่อยากจะยืนหยัดได้ในระยะยาว จะต้องสร้างจุดเด่นของตนเองเพื่อดึงผู้ชมและเงินมหาศาลจากอัตราค่าโฆษณา"

"สิ่งที่เราต้องเร่งทำ คือ การเร่งขยายเครือข่ายออกไปให้ประชาชนได้รับชมทีวีดิจิทัลอย่างทั่วถึง การขยายโครงข่ายต้องประสบความสำเร็จตามเวลา ทั่วประเทศต้องรับชมทีวีดิจิทัลได้ทั้งหมด ทุกสถานีต้องรีบประชาสัมพันธ์ สร้างจุดเด่นให้ตัวเอง ทุกคนลงทุนไปเยอะ ต้องทำทุกอย่างให้ได้ผลที่คุ้มค่า" นายธวัชชัย กล่าวทิ้งท้าย

_____________________________________________________














กสทช.ชี้'ทีวีดิจิทัล'แข่งเดือด


รายการ Ringside สังเวียนหุ้น ทางสถานีโทรทัศน์ NOW26 ตอน "อนาคตทีวีดิจิทัล”



รายการ Ringside สังเวียนหุ้น ทางสถานีโทรทัศน์ NOW26 ตอน "อนาคตทีวีดิจิทัล” รับฟังกลยุทธ์อยู่รอดในสนามแข่งขันที่ดุเดือดของวงการทีวี โดยมีผู้ชมและเม็ดเงินโฆษณาจำนวนมหาศาลเป็นเดิมพันกับ ธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการ กสทช.

นายธวัชชัย จิตรภาษ์นันท์ กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวถึงอนาคตของทีวีดิจิทัลว่า ทีวีดิจิทัลเป็นเทคโนโลยีใหม่สำหรับคนไทย แต่เป็นเทคโนโลยีที่คนในหลายประเทศทั่วโลกรู้จักกันดี การส่งสัญญาณโทรทัศน์ทั้งภาพและเสียงในรูปแบบทีวีดิจิทัลจะทำให้ผู้ชมได้รับชมข่าวสารและรายการโทรทัศน์ที่มีความคมชัดไร้คลื่นรบกวน ซึ่งต่างจากแบบเดิม คือ ระบบอนาล็อกที่ต้องใช้เสาหนวดกุ้งหรือก้างปลาเป็นตัวรับสัญญาณต้องคอยปรับจูนช่องเครือข่ายตลอดเวลาเพื่อให้ได้ภาพที่คมชัดมากที่สุด

ขณะที่ทีวีระบบดิจิทัลจะส่งสัญญาณแบบรหัสไปยังกล่องรับสัญญาณ เพื่อแปลงเป็นสัญญาณภาพและเสียงให้ประชาชนได้รับชมภาพที่ชัดเจนและเสียงที่คมชัดมากที่สุด

"แบบเดิมเป็นการส่งสัญญาณแบบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือ อนาล็อก เวลารับสัญญาณหรือการส่งสัญญาณไปยังผู้ชมจะค่อนข้างมีปัญหามาก คือ ภาพและเสียงไม่ชัดเจน สัญญาณถูกกวนง่าย ส่งแบบดื้อๆ เป็นเหมือนแผ่นเสียงในอดีต สัญญาณจึงไม่ชัด คลื่นเยอะ พอเป็นดิจิทัลก็เป็นแบบการส่งรหัส ใช้คลื่นนิดเดียว

แต่ได้ความคมชัดของภาพที่มหาศาลมาก สมัยก่อนหนึ่งบล็อกจะส่งได้หนึ่งช่อง แต่ปัจจุบันคลื่นช่วงหนึ่งบล็อกจะส่งสัญญาณได้ถึง 15 ช่อง รวมถึงแบบ HD ด้วยที่คุณภาพจะดีกว่าเดิมมาก" นายธวัชชัย ระบุ

เขากล่าวต่อว่า "ทีวีดิจิทัล" เป็นเทคโนโลยีใหม่ของประเทศที่ กสทช.หวังให้ประชาชนและประเทศชาติได้รับประโยชน์มากที่สุด เราเปลี่ยนจากระบบสัมปทานเดิมเป็นระบบใบอนุญาตซึ่งควบคุมโดย กสทช.ที่เป็นองค์กรอิสระ ระบบสัมปทานจะใกล้ชิดกับนักการเมืองมากเกินไป ทำให้ไม่เกิดความโปร่งใส ระบบใหม่ทำให้มีอิสรเสรีในการกระจายข่าวมากขึ้น ยกเว้นช่วงนี้ที่มีกฎอัยการศึก ถ้าสถานการณ์การเมืองเป็นปกติ นักการเมืองก็แทรกแซงยาก

เดินหน้าขยายโครงข่าย

กรรมการ กสทช.กล่าวอีกว่า ตามแผนเดิม เรามีแผนติดตั้งขยายโครงข่ายการให้บริการภาคพื้นดินเพิ่มเติมอีก 28 จังหวัดเป็นระยะๆ ได้แก่ 1 ส.ค.2557ขยาย 4 จังหวัด คือ ร้อยเอ็ด เชียงราย สระแก้ว และนครสวรรค์ วันที่ 1 ต.ค.2557 ขยาย 4 จังหวัด คือ นครศรีธรรมราช ภูเก็ต ตรัง และลำปาง วันที่ 1 ธ.ค.2557ขยายเพิ่ม 5 จังหวัด คือ สกลนคร สุรินทร์ น่าน เพชรบูรณ์ และประจวบคีรีขันธ์ วันที่ 1 ก.พ.2558 ขยายเพิ่ม 5 จังหวัด คือ กาญจนบุรี ชุมพร ตราด มุกดาหาร และตาก

วันที่ 1 เม.ย.2558 ขยายเพิ่ม 5 จังหวัด คือ แม่ฮ่องสอน ระนอง เลยชัยภูมิ และแพร่ วันที่ 1 มิ.ย.2558 ขยายเพิ่ม 5 จังหวัด คือ สตูล อุตรดิตถ์ บึงกาฬศรีสะเกษ และยะลา

ทั้งนี้เป็นการขยายเพิ่มจากแผนเดิมที่ประกาศนำร่องไว้เบื้องต้น 11 จังหวัด ได้แก่ 1 เม.ย.2557 ครอบคลุม 4 จังหวัด กรุงเทพฯ นครราชสีมา เชียงใหม่และสงขลา จากนั้น 1 พ.ค.2557 ขยายอีก 3 จังหวัด คือ อุบลราชธานี สุราษฎร์ธานี และ ระยอง วันที่ 1 มิ.ย.2557 ขยายอีก 4 จังหวัด เช่น สิงห์บุรี สุโขทัย ขอนแก่นทำให้จนถึงกลางปี 2558 โครงข่ายจะขยายการให้บริการครอบคลุมเพื่อรับชมทีวีดิจิทัลจำนวน 80% ของจำนวนประชากร หรือสามารถรับชมทีวีดิจิทัลได้ทั้งสิ้น 39จังหวัด และจะพัฒนาต่อเนื่องจนครอบคลุมทุกพื้นที่

มั่นใจ4ปีครอบคลุม

นายธวัชชัย กล่าวต่ออีกว่า กสทช.ประเมินว่าภายใน 3-4 ปี ข้างหน้า สัญญาณทีวีดิจิทัลจะครอบคลุมทั้งประเทศประมาณ 95% แม้ว่าจะไม่ได้ครอบคลุมทั้ง 100% เพราะบางพื้นที่ที่คนชมน้อย การตั้งเสาที่มีต้นทุนสูงมากอาจไม่คุ้มค่านัก เราตั้งเป้าไว้ว่าในปีแรกต้องสามารถขยายฐานการดูทีวีดิจิทัลได้ประมาณ 50% ปีที่สอง 80% ปีที่สาม ต้องได้ 90% และปีที่สี่ต้องได้ 95%

ทั้งนี้ กสทช.จะตั้งคณะทำงานติดตามโครงข่ายทีวีดิจิทัลที่ประกอบด้วยตัวแทนผู้ประกอบการโครงข่าย ตัวแทนผู้ประกอบการทีวีดิจิทัล ผู้เชี่ยวชาญ และกสทช. โดยมีหน้าที่ติดตาม ตรวจสอบสัญญาณทีวีดิจิทัลเพื่อนำมาวัดผล ประเมินสถานการณ์การครอบคลุมของสัญญาณเพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาต่อไป

ขณะเดียวกันผู้ประกอบการโครงข่ายทีวีดิจิทัลที่เกิดปัญหาติดตั้งล่าช้านั้น ควรมีแผนระยะชั่วคราว เพราะเรามองว่าภาพรวมทีวีดิจิทัล เรื่องคุณภาพถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ หากโครงข่ายครอบคลุมไม่ทั่วถึงตามกำหนด ส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถรับชมทีวีดิจิทัลได้ ก็จะเกิดความเสียหายต่อผู้ประกอบการช่องด้วย

หาจุดเด่นสมรภูมิเดือด

กรรมการ กสทช. กล่าวอีกด้วยว่า การแข่งขันของทีวีดิจิทัลในตอนนี้ถือว่ามีความร้อนแรงพอสมควร เพราะทุกช่องพยายามผลิตรายการเพื่อดึงดูดทั้งผู้ชมและค่าโฆษณา เรามองว่ามูลค่าโฆษณาในตลาดโทรทัศน์ประมาณ 60,000-70,000 ล้านบาทต่อปีจะสร้างกำไรให้กับทุกบริษัทได้ แต่ปัญหา คือ ในช่วงแรกอัตราค่าโฆษณาอาจจะไปกระจุกตัวอยู่ในช่องเดิมๆ อยู่ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดไปอยู่ในช่อง 3 และช่อง 7 เยอะมาก

ฉะนั้นหากผู้ประกอบการหน้าใหม่ต้องการจะอยู่ให้รอด ต้องสร้างจุดเด่นในตัวเองเพื่อเรียกผู้ชม อย่างที่ผ่านมาจะเห็นว่าทีวีดิจิทัลหลายช่องสามารถเรียกคะแนนจากคนดูและเรียกค่าโฆษณาได้เยอะ ส่วนช่องที่ยังไม่มีจุดยืน ไม่ดึงความเด่นของตัวเองออกมา ในเชิงพาณิชย์แล้วก็มีโอกาสขาดทุนสูง

"บางช่องอาจจะมองว่าเงินจากโฆษณาอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักในการขับเคลื่อนช่อง อย่างช่องทีวีการเมืองทั้งหลายที่มีจุดประสงค์อื่นในการตั้งช่องโทรทัศน์ขึ้นมา แต่สำหรับช่องที่อยากจะยืนหยัดได้ในระยะยาว จะต้องสร้างจุดเด่นของตนเองเพื่อดึงผู้ชมและเงินมหาศาลจากอัตราค่าโฆษณา"

"สิ่งที่เราต้องเร่งทำ คือ การเร่งขยายเครือข่ายออกไปให้ประชาชนได้รับชมทีวีดิจิทัลอย่างทั่วถึง การขยายโครงข่ายต้องประสบความสำเร็จตามเวลา ทั่วประเทศต้องรับชมทีวีดิจิทัลได้ทั้งหมด ทุกสถานีต้องรีบประชาสัมพันธ์ สร้างจุดเด่นให้ตัวเอง ทุกคนลงทุนไปเยอะ ต้องทำทุกอย่างให้ได้ผลที่คุ้มค่า" นายธวัชชัย กล่าวทิ้งท้าย


http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20150201/632312/กสทช.ชี้ทีวีดิจิทัลแข่งเดือด.html

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.