Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

30 มกราคม 2558 CAT ร่วมลงนามกับการไฟฟ้านครหลวง ทำโครงข่าย Smart Grid นำร่อง 20,000 มิเตอร์ติด 3G 3G by CAT และ Cloud Server ( รู้การใช้ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ )

ประเด็นหลัก


       พ.อ.สรรพชัยกล่าวว่า Smart Grid ถือเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐที่ต้องการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจลดความซ้ำซ้อนในการลงทุน และสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร ซึ่งในอนาคต กสท ยังจะสามารถตอบสนองต่อบริการ Smart Grid Solution ของ กฟน.ในอนาคต ได้แก่ การให้บริการ ERP บน Cloud ซึ่งจะช่วยให้ระบบงานบัญชีสามารถทำงานผ่านอุปกรณ์ขนาดเล็กได้อย่างคล่องตัว และสามารถนำงานประมวลผลขนาดใหญ่ขึ้นไปไว้บน Cloud Server ได้อย่างสะดวกผ่านเครือข่ายสาธารณะอย่าง 3G ได้ทันที


_____________________________________________________












กสท จับมือ กฟน.พัฒนา Smart Grid นำร่อง 20,000 มิเตอร์



พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

        กสท จับมือ กฟน.ร่วมกันพัฒนาระบบโครงข่ายอัจฉริยะ Smart Grid พร้อมเริ่มนำร่องก่อน 20,000 มิเตอร์ ชี้เป็นระบบการสื่อสารสองทางที่จะช่วยให้ กฟน.รู้การใช้ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ และแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที เผยในอนาคตเตรียมพัฒนาบริการอื่นๆ ที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันมาสร้างเป็นบริการใหม่ๆ ที่จะช่วยลดต้นทุนแต่สร้างมูลค่าเพิ่มได้อีกหลายบริการ
     
       พ.อ.สรรพชัย หุวะนันทน์ กรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กสท ได้ร่วมลงนามกับการไฟฟ้านครหลวง หรือ กฟน.ในการพัฒนาระบบโครงข่ายอัจฉริยะ (Smart Grid) ซึ่งเป็นระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจริยะแบบครบวงจร ทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าจากผู้ให้บริการไปยังผู้ใช้บริการด้วยระบบการสื่อสารสองทาง โดยการพัฒนาระบบนี้จะช่วยให้ กฟน.สามารถวางแผนการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าแก่ประชาชน และตรวจสอบการใช้ไฟฟ้าได้แบบเรียลไทม์ ซึ่งคาดว่าในปีนี้จะสามารถใช้ระบบ Smart Grid ได้ประมาณ 20,000 มิเตอร์
     
       โดยมิเตอร์ที่จะใช้ระบบ Smart Grid นี้จะช่วยให้ กฟน.สามารถรับรู้ปริมาณการใช้ไฟฟ้าของแต่ละบ้านได้แบบทันท่วงทีทุกเวลา จากเดิมที่มิเตอร์จะบอกเพียงหน่วยที่ใช้ไฟฟ้าเท่านั้น ซึ่งผลจากการพัฒนาระบบนี้จะช่วยให้การจ่ายไฟฟ้าเป็นไปตามความต้องการและผลิตได้ในปริมาณที่เหมาะสม สามารถนำข้อมูลดังกล่าวมาคำนวณการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้มีความเสถียร ลดปัญหาไฟฟ้าดับในช่วงที่ใช้ไฟฟ้าสูง และที่สำคัญยังสามารถแก้ไขปัญหาไฟฟ้าดับได้อย่างรวดเร็ว
     
       'ความร่วมมือดังกล่าวนี้ทั้ง กฟน.และ กสท ยังจะได้ร่วมกันศึกษาความเป็นไปได้ของการนำเทคโนโลยีดิจิตอล รวมถึงบริการต่างๆ ของ กสท ที่จะสามารถสนับสนุนกับการทำงานของ กฟน.ทั้งในส่วนของการส่งจ่ายไฟฟ้า การจัดเก็บ ตลอดจนจุดรับซื้อไฟฟ้า เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า กฟน.ที่มีอยู่ประมาณ 3 ล้านราย รวมไปถึงจะมีการพิจารณาการใช้ทรัพยากรด้านโครงข่ายร่วมกันเพื่อการให้บริการที่ทั่วถึงและลดการลงทุนที่ซ้ำซ้อน และสร้างมูลค่าเพิ่มร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ'
     
       พ.อ.สรรพชัยกล่าวว่า Smart Grid ถือเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐที่ต้องการให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจลดความซ้ำซ้อนในการลงทุน และสามารถใช้ทรัพยากรได้อย่างคุ้มค่าเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร ซึ่งในอนาคต กสท ยังจะสามารถตอบสนองต่อบริการ Smart Grid Solution ของ กฟน.ในอนาคต ได้แก่ การให้บริการ ERP บน Cloud ซึ่งจะช่วยให้ระบบงานบัญชีสามารถทำงานผ่านอุปกรณ์ขนาดเล็กได้อย่างคล่องตัว และสามารถนำงานประมวลผลขนาดใหญ่ขึ้นไปไว้บน Cloud Server ได้อย่างสะดวกผ่านเครือข่ายสาธารณะอย่าง 3G ได้ทันที

http://manager.co.th/CbizReview/ViewNews.aspx?NewsID=9580000011697

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.