Header Ads

Screen-Shot-2561-02-24-at-11.53.29-PM.png
Breaking News
recent

21 มกราคม 2557 ศาลปกครองสูงสุด ยกคำขอ TRUEMOVE ที่ขอทุเลาคำสั่งกสทช. ให้จ่ายค่าปรับวันละ 8 หมื่นบาทให้รัฐเหตุไม่จัดเก็บข้อมูลแสดงตนของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินฯ


ประเด็นหลัก


โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว เป็นให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การที่ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งไม่ทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งของ เลขาธิการ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือที่ ทช 3300/9800 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 แต่กลับมีคำสั่งให้ระงับการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ สทช 5011/9465 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ไว้เป็นการชั่วคราวฯ นอกจากจะเป็นคำสั่งที่ขัดแย้งกันในตัวเองแล้ว ยังเป็นคำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐอีกด้วย เพราะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองขาดเครื่องมือในการดำเนินการให้คำสั่งทางปกครองบรรลุผล

______________________________________

ยกคำขอทรูมูฟขอทุเลาคำสั่งกสทช.จ่ายค่าปรับ

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ศาลปกครองสูงสุด ยกคำขอทรูมูฟที่ขอทุเลาคำสั่งกสทช. ให้จ่ายค่าปรับวันละ 8 หมื่นบาทให้รัฐ



ศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ในคดีพิพาทระหว่าง บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ 1 และเลขาธิการ กสทช. ที่ 2 (ผู้ถูกฟ้องคดี) โดยเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา

ทั้งนี้คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้น ได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น โดยสั่งให้ระงับการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สทช. 5011/9465 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ที่แจ้งให้ บริษัท ทรูมูฟ ผู้ฟ้องคดีจ่ายค่าปรับทางปกครองวันละ 80,000 บาท กรณีไม่จัดเก็บข้อมูลแสดงตนของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินฯ

โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว เป็นให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การที่ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งไม่ทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งของ เลขาธิการ กสทช. ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือที่ ทช 3300/9800 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 แต่กลับมีคำสั่งให้ระงับการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ สทช 5011/9465 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ไว้เป็นการชั่วคราวฯ นอกจากจะเป็นคำสั่งที่ขัดแย้งกันในตัวเองแล้ว ยังเป็นคำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐอีกด้วย เพราะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองขาดเครื่องมือในการดำเนินการให้คำสั่งทางปกครองบรรลุผล

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20140120/557381/%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%9F%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A.%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A.html

____________________________


ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น คดีทรูมูฟ ฟ้อง กสทช.


ศาลปกครองสูงสุด กลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น คดีการจ่ายค่าปรับกรณีไม่จัดเก็บข้อมูลแสดงตนของผู้ใช้บริการโทรศัพท์ เคลื่อนที่ประเภทเติมเงิน ในคดีพิพาทระหว่าง บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับ กสทช. และ เลขาธิการ กสทช.โดยชี้ว่าเป็นคำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐ...

เมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2557 ศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ในคดีพิพาทระหว่าง บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ 1 และเลขาธิการ กสทช. ที่ 2 (ผู้ถูกฟ้องคดี) (คำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา)


คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้น ได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น โดย สั่งให้ระงับการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สทช. 5011/9465 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ที่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีจ่ายค่าปรับทางปกครองวันละ 80,000 บาท กรณีไม่จัดเก็บข้อมูลแสดงตนของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินฯ

โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว เป็นให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การที่ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งไม่ทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือที่ ทช 3300/9800 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 แต่กลับมีคำสั่งให้ระงับ การบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ สทช 5011/9465 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ไว้เป็นการชั่วคราวฯ นอกจากจะเป็นคำสั่งที่ขัดแย้งกันในตัวเองแล้ว ยังเป็นคำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐอีกด้วย เพราะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครอง ขาดเครื่องมือในการดำเนินการให้คำสั่งทางปกครองบรรลุผล.



โดย: ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์
http://m.thairath.co.th/content/tech/397633


______________________________________________________________


ศาลปกครองสูงสุดให้ทรูมูฟจ่ายค่าปรับแก่กสทช.

โพสต์เมื่อ : 20 ม.ค. 2557, 16:42 น.
หมวดหมู่ : ข่าวเด่น
ศาลปกครองสูงสุดกลับคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น คดีการจ่ายค่าปรับกรณีไม่จัดเก็บข้อมูลแสดงตนของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงิน

วันนี้ (20 มกราคม 2557) ศาลปกครองกลาง ได้อ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ในคดีพิพาทระหว่าง บริษัท ทรูมูฟ จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่ 1 และเลขาธิการ กสทช. ที่ 2 (ผู้ถูกฟ้องคดี) ในคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดมาตรการหรือวิธีการใดๆ เพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนการพิพากษา

คดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้น ได้มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุด หรือจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น โดยสั่งให้ระงับการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ สทช. 5011/9465 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ที่แจ้งให้ผู้ฟ้องคดีจ่ายค่าปรับทางปกครองวันละ 80,000 บาท กรณีไม่จัดเก็บข้อมูลแสดงตนของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเติมเงินฯ

โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งกลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นดังกล่าว เป็นให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดี เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การที่ศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งไม่ทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือที่ ทช 3300/9800 ลงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2553 แต่กลับมีคำสั่งให้ระงับการบังคับตามคำสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ สทช 5011/9465 ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2555 ไว้เป็นการชั่วคราวฯ นอกจากจะเป็นคำสั่งที่ขัดแย้งกันในตัวเองแล้ว ยังเป็นคำสั่งที่เป็นอุปสรรคต่อการบริหารงานของรัฐอีกด้วย เพราะทำให้เจ้าหน้าที่ของรัฐหรือหน่วยงานทางปกครองขาดเครื่องมือในการดำเนินการให้คำสั่งทางปกครองบรรลุผล


http://www.posttoday.com/%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A5%E0%B8%9F%E0%B9%8C/272376/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%9F%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%8A-

ไม่มีความคิดเห็น:

So Magawn ( รวบรวบประวัติศาสตร์โทรคมนาคมและการสือสารไทย ). ขับเคลื่อนโดย Blogger.